วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พลังงานชีวมวล

    ชีวมวล (Biomass)  คือ สารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติและสามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานได้ เช่น เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือกากจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น แกลบ ได้จากการสีข้าวเปลือกชานอ้อย ได้จากการผลิตน้ำตาลทรายเศษไม้ ได้จากการแปรรูปไม้ยางพาราหรือไม้ยูคาลิปตัสเป็นส่วนใหญ่ และบางส่วนได้จากสวนป่าที่ปลูกไว้กากปาล์ม ได้จากการสกัดน้ำมันปาล์มดิบออกจากผลปาล์มสดกากมันสำปะหลัง ได้จากการผลิตแป้งมันสำปะหลังซังข้าวโพด ได้จากการสีข้าวโพดเพื่อนำเมล็ดออกกาบและกะลามะพร้าว ได้จากการนำมะพร้าวมาปลอกเปลือกออกเพื่อนำเนื้อมะพร้าวไปผลิตกะทิ และน้ำมันมะพร้าวส่าเหล้า ได้จากการผลิตอัลกอฮอล์เป็นต้นชีวมวล สามารถเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานได้ เพราะในขั้นตอนของการเจริญเติบโตนั้น พืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำและเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์โดยผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสงได้ออกมา เป็นแป้งและน้ำตาล แล้วกักเก็บไว้ตามส่วนต่างๆ ของพืช ดังนั้นเมื่อนำพืชมาเป็นเชื้อเพลิงเราก็จะได้พลังงานออกมา การใช้ประโยชน์จากพลังงานชีวมวล สามารถใช้ได้ทั้งในรูปของพลังงานความร้อน ไอน้ำ หรือผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า โดยจะใช้เชื้อเพลิงชีวมวลชนิดใดชนิดหนึ่งที่กล่าวมาข้างต้น หรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ชีวมวลจึงเป็นแหล่งเชื้อเพลิงราคาถูก หากมีการใช้ประโยชน์ในบริเวณที่ไม่ไกลจากแหล่งเชื้อเพลิงมากนัก เพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง  ชีวมวล มีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย การนำชีวมวลมาใช้จึงช่วยลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าเชื้อเพลิงและสร้างรายได้ให้กับคนท้องถิ่น นอกจากนี้การผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวลด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและไม่สร้างสภาวะเรือนกระจก เนื่องจากการปลูกทดแทนทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดการหมุนเวียนและไม่มีการปลดปล่อยเพิ่มเติม เรายังมุ่งหวังว่าการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับชีวมวลจะสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งและ การมีส่วนร่วมของชุมชนได้อีกด้วย 

ชีวมวล
ที่มา  http://shopadmin.thaiepay.com/shopdetail/105/images


องค์ประกอบของชีวมวลองค์ประกอบของชีวมวลหรือสสารทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักคือ     ความชื้น (Moistureความชื้นหมายถึงปริมาณน้ำที่มีอยู่ ชีวมวลส่วนมากจะมีความชื้นค่อนข้างสูง เพราะเป็นผลผลิตทางการเกษตร ถ้าต้องการนำชีวมวลเป็นพลังงานโดยการเผาไหม้ ความชื้นไม่ควรเกิน 50 เปอร์เซ็นต์      ส่วนที่เผาไหม้ได้ (Combustible substance)ส่วนที่เผาไหม้ได้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ Volatiles matter และ Fixed Carbon Volatiles matter คือส่วนที่ลุกเผาไหม้ได้ง่าย ดังนั้นชีวมวลใดที่มีค่า Volatiles matter สูงแสดงว่าติดไฟได้ง่าย      ส่วนที่เผาไหม้ไม่ได้ คือขี้เถ้า (Ash)ชีวมวลส่วนใหญ่จะมีขี้เถ้าประมาณ 1 -3 เปอร์เซ็นต์ ยกเว้นแกลบและฟางข้าว จะมีสัดส่วนขี้เถ้าประมาณ 10 -20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะมีปัญหาในการเผาไหม้และกำจัดพอสมควร   


ที่มา http://www.thaigoodview.com/


         ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมีเศษวัสดุวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมากมายปีละหลายสิบล้านตัน ประกอบกับทางภาครัฐสนับสนุนและส่งเสริม จึงถูกนำมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าเพื่อจ่ายเข้าระบบ เช่นแกลบ เศษไม้ และชานอ้อย เป็นต้น แต่การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลมีอุปสรรคบางประการเช่น
-    ต้องมีปริมาณมากเพียงพอ ยกตัวอย่างเช่น กำลังการผลิตไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์ต้องใช้เชื้อเพลิงปีละ 10,000 -15,000 ตัน
-    ค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้ายิ่งใหญ่ยิ่งถูก กล่าวคือราคาโรงไฟฟ้า 10 เมะวัตต์ มีราคาแพงกว่าโรงไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์ เพียง 5 เท่าด้วยเทคโนโลยีเดียวกัน แต่มีกำลังการผลิตไฟฟ้ามากกว่า 10 เท่า ซึ่งทำให้ต้นทุนผลิตไฟฟ้าขนาด 10 เมะวัตต์ถูกกว่า 1 เมกะวัตต์
ดังนั้นการเริ่มทำธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวลประการแรกต้องหาเชื้อเพลิงก่อนว่าได้เท่าไร จากนั้นจึงมากำหนดขนาดกำลังการผลิต เทคโนโลยี และคำนวณต้นทุนดูว่าคุ้มกับเงินลงทุนหรือไม่

        อย่างไรก็ตามยังแต่มีชีวมวลอีกมากมายเช่น ขุยมะพร้าว เปลือกลำไย เปลือกถั่วต่างๆ ผลไม้ที่ไม่ได้คุณภาพ และเศษไม้ไผ่จากการผลิตข้าวหลาม เป็นต้นซึ่งมีปริมาณมากในสายตาของเจ้าของ แต่ไม่เพียงพอในการนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ดังนั้นต้องหาทางเลือกอื่นๆเช่น แปรรูปเป็นปุ๋ยหมัก  เหมาะสำหรับเศษวัดสุเหลือใช้ที่มีความชื้นค่อนข้างสูงและนิ่มเช่น ขุยมะพร้าว ผักตบชวา และเปลือกถั่ว โดยนำมาผ่านเครื่องย่อยและหมักตามสูตรการผลิตปุ๋ยหมักทั่วไป และถ้าต้องการนำมาใช้ในรูปของพลังงานมี 2 รูปแบบดังนี้

ที่มา  http://3.bp.blogspot.com/
 1. ผลิตเป็นถ่านไม้ เป็นวิธีการดั้งเดิมตั้งแต่บรรพบุรุษสมัยปู่ย่าตายาย ทุกครัวเรือนในชนบทรู้จักดี ถ่านมีประโยชน์มากมายเช่น เป็นพลังงานในครัวเรือน เป็นสารปรับปรุงดิน ดูดกลิ่นและผสมในอาหารสัตว์เล็กน้อยจะช่วยลดอาการท้องอึด เป็นต้น ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการเผาถ่านให้เลือกมากมายเช่น เตาอิวาเตะ เตาเผาถ่านใช้ถัง 200 ลิตร และเตารูปโดม ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.charcoal.snmcenter.com
ชีวมวลที่เหมาะสมในการนำมาผลิตถ่านควรมีขนาดใหญ่และความชื้นต่ำเช่นเศษไม้ต่างๆ ในบางกรณีอาจนำมาบดให้ละเอียดและอัดเป็นแท่ง สามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้นเช่น ถ่านอัดแท่งจากกะลามะพร้าว ซังข้าวโพดและขี้เลื่อย นอกจากนี้ถ้าแปรรูปให้เป็นถ่านดูดกลิ่น จะสามารถเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้นอีก โดยใช้ผลไม้ที่ไม่ได้ขนาด จะได้ถ่านมีรูปร่างตามผลไม้นั้นๆ วิธีการทำง่ายมากคือ ขุดดินเป็นหลุมขนาด 1 x 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร ใส่เชื้อเพลิงคือซังข้าวโพดที่ก้นหลุม ตามด้วยผลไม้สดผิวแข็งเช่นน้อยหน่า สับปะรด กล้วย มังคุด เป็นต้น ประมาณ 20 กิโลกรัม จากนั้นทำการจุดไฟ นำสังกะสีปิดบนเตาและนำเชื้อเพลิงกลบด้านบนอีกชั้นหนึ่ง ผลไม้จะถูกเผาอยู่ในหลุมและสุกเป็นถ่านใช้เวลาประมาณ 10 -15 ชั่วโมง เมื่อเผาเสร็จนำมาเรียงเพื่อลดความร้อน จะได้ผลไม้ดูดกลิ่นเหม็นและอับชื้น ใช้ในห้องนอน รถยนต์ รองเท้า และตู้เสื้อผ้าเป็นต้น เมื่อใช้แล้วประมาณ 1 เดือนนำมาตากแดดแล้วนำกลับมาใช้ได้อีก 


ถ่านไม้
ที่มา  http://image.made-in-china.com/
   

2. นำมาเผาในอุปกรณ์พิเศษเรียกว่า
แก็สซิไฟเออร์ (Gasifier) โดยใส่อากาศเพียงร้อยละ 20 -30 จะได้ก๊าซชีวมวล จากนั้นนำไปเป็นพลังงานทดแทนก๊าซหุงต้ม โดยใช้เตาก๊าซที่มีอยู่ แต่ต้องปรับปริมาณอากาศเข้าให้เหมาะสม หรือนำมาผลิตไฟฟ้าโดยเครื่องยนต์สันดาปภายในขนาดตั้งแต่ 1 -100 กิโลวัตต์ แต่ต้องติดตั้งอุปกรณ์กำจัดน้ำมันดินที่มาพร้อมกับก๊าซชีวมวล มิฉะนั้นจะทำให้เครื่องยนต์ชำรุดได้ อนึ่งชีวมวลที่เหมาะสมควรมีความชื้นไม่เกินร้อยละ 20 และมีขนาดใกล้เคียงกันเพื่อให้ได้ก๊าซชีวมวลที่มีคุณภาพ  
ข้อดีของการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเหล่านี้เป็นพลังงานคือ นอกจากลดภาระในการกำจัดแล้ว ยังช่วยลดสภาวะก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อนขึ้นอีกด้วย


ประเภทของชีวมวล

ฟางข้าวลักษณะทั่วไป ขนาดเล็กยาวแต่กลวง ได้มาหลังการเกี่ยวข้าว
แหล่ง ถ้าเกี่ยวข้าวด้วยแรงคน ฟางข้าวจะกองอยู่บริเวณลานตากข้าวตามหมู่บ้าน ถ้าเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องจักร ฟางข้าวจะถูกทิ้งไว้ในนาข้าว
การนำไปใช้งาน ฟางข้าวมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น เป็นอาหารสัตว์ คลุมดิน เพาะเห็ดฟาง ทำโครงพวงหรีดดอกไม้ และใช้ในอุตสาหกรรมทำกระดาษ เป็นต้น แต่ยังมีฟางข้าวอีกมากที่ไม่ได้นำไปใช้ คาดว่าประมาณ 1ใน 3 ของส่วนที่เหลือถูกเผาทิ้ง
จุดเด่น ยังมีฟางข้าวอีกมากที่ไม่ได้นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์
จุดด้อย รวบรวมได้ยากถ้าใช้แรงคน เพราะอยู่กระจัดกระจาย ต้อง ใช้เครื่องทุ่นแรง (Straw baler) มาช่วยในการรวบรวม



ฟางข้าว
ที่มา  http://3.bp.blogspot.com/

เศษไม้ยางพาราลักษณะทั่วไป ไม้ยางพาราเมื่อมีอายุถึง 20 -25 ปีจะถูกตัด เพื่อปลูกใหม่ ไม้ยางพาราที่ถูกตัดจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ รากหรือตอไม้ ปลายไม้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้วลงมา และไม้ท่อนมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้วขึ้นไป ไม้ท่อนจะถูกตัดให้ได้ความยาว1.05ม.เพื่อส่งโรงเลื่อย และโรงงานเฟอร์นิเจอร์ซึ่งจะได้เศษไม้หลายแบบคือ ปีกไม้ ตาไม้(ส่วนที่มีตำหนิ) ขี้เลื่อย และขี้กบ
แหล่ง ปีกไม้และขี้เลื่อย จะหาได้จากโรงเลื่อยไม้ยางพารา ตาไม้และขี้กบ จะหาได้จากโรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ปลายไม้และรากไม้ จะหาได้จากสวนยางพารา
การนำไปใช้งาน ในส่วนของขี้เลื่อยจะนำไปเพาะเห็ด ทำธูป ใช้คลุมเผาถ่าน เศษไม้อื่นๆจะนำไปเป็นเชื้อเพลิง สำหรับโรงบ่มยางพารา เผาถ่าน ใช้ในขบวนการผลิต ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับ ไม้อัดยางพารา (Plywood) Medium density board และ Chip board นอกจาก นี้ยังนำไปใช้ในงานก่อสร้าง เช่นเสาเข็ม ใช้ทำเป็นพาเล็ท ลังไม้ เป็นต้น
จุดเด่น ยังมีเศษไม้ยางพาราคือ รากไม้ และกิ่งไม้ เหลืออีกมากที่ยังไม่ได้นำไปใช้งาน
จุดด้อย มีขนาดใหญ่ และถ้าเป็นเศษไม้สดจะมีความชื้นค่อนข้างสูง ประมาณ 50 % ประสิทธิภาพในการเผาไหม้จึงไม่ค่อยสมบูรณ์ ดังนั้นอาจจะต้องเพิ่มขบวนการย่อยและลดความชื้นก่อนนำไปเผา



ที่มา  http://webhost.wu.ac.th/
  กากอ้อยลักษณะทั่วไป มีลักษณะเป็นขุย ได้จากการผลิตน้ำตาลดิบ โดยนำอ้อยมาคั้นน้ำออก ส่วนที่เป็นน้ำนำไปผลิตเป็นน้ำตาลดิบ ส่วนที่เหลือคือกากอ้อย
แหล่ง โรงงงานน้ำตาล ซึ่งมีอยู่ประมาณ 46 โรง

การนำไปใช้งาน ส่วนใหญ่ใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิต น้ำตาลดิบประมาณ 80 % ส่วนที่เหลืออีก 20 % นำไปเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตกระดาษ และ MDF Board
จุดเด่น ยังมีกากอ้อยเหลืออีกส่วนหนึ่งที่ยังไม่ได้นำไปใช้งาน
จุดด้อย น้ำหนักเบา และความชื้นสูง


กากอ้อย
ที่มา  http://www.thaisugarmill.com/


ใบอ้อยและยอดอ้อยลักษณะทั่วไป มีลักษณะเรียวยาว จะถูกตัดออกจากลำต้นอ้อยก่อนส่งไปโรงงาน ช่วงเดือนธันวาคมถึงเมษายน ดังนั้นใบอ้อยและยอดอ้อยจะกระจายไปทั่วไร่อ้อย แต่บางครั้งชาวไร่อ้อยจะใช้วิธีการเผาแทนการตัด ซึ่งจะทำให้ไม่มีใบอ้อยและยอดอ้อยหลงเหลืออยู่
แหล่ง ตามไร่อ้อยทั่วไป
การนำไปใช้งาน ยอดอ้อยสามารถนำมาเป็นอาหารสัตว์
จุดเด่น ใบอ้อยและยอดอ้อยส่วนใหญ่จะถูกเผาทิ้งในไร่ ยังไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์
จุดด้อย มีเฉพาะเดือนธันวาคมถึงเมษายนของทุกปี และการรวบรวมเก็บ ค่อนข้างใช้แรงงานมาก จำเป็นต้องหาเครื่องทุ่นแรงมาช่วย



ใบอ้อย
ที่มา http://www.pandintong.com/


เหง้ามันสำปะหลังลักษณะทั่วไป เหง้ามันเป็นส่วนที่ถูกตัดออกจากหัวมัน ด้านบนมีลักษณะเป็นลำต้นค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 15 มม. ยาวประมาณ 30 ซม. ส่วนอีกด้านหนึ่งมีรูปร่างไม่แน่นอน
แหล่ง ตามไร่มันสำปะหลัง
การนำไปใช้งาน ปัจจุบันยังไม่ค่อยนำไปใช้งาน จึงมักถูกเผาทิ้งตามไร่
จุดเด่น เนื่องจากส่วนมากยังไม่ได้นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ จึงไม่มีคู่แข่งในการจัดหา
จุดด้อย ความชื้นโดยเฉลี่ย 60 % และมีขนาดรูปทรงไม่แน่นอน จึงต้องมีขบวนการทำให้เล็กลง ก่อนนำไปเป็นเชื้อเพลิง



มันสำปะหลัง
ที่มา http://www.khorat.doae.go.th/
  เปลือกและกากมันสำปะหลังลักษณะทั่วไป เปลือกมีลักษณะเป็นขุย สีน้ำตาล ความชื้น 50 % กากมันมีลักษณะละเอียด สีขาว ความชื้นสูงประมาณ 80 %
แหล่ง เป็นเศษที่เหลือจากการผลิตแป้งมันสำปะหลัง
การนำไปใช้งาน กากมันนำไปใช้ผสมอาหารสัตว์ในมันเส้น เปลือกมันทำปุ๋ย
จุดเด่น เนื่องจากเปลือกมันส่วนยังมีส่วนหนึ่งที่ขายไม่ได้ ทางโรงงานต้องนำไปฝังกลบ เพราะยังไม่ได้ศึกษานำไปใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างอื่น
จุดด้อย เปลือกมันมีค่าความร้อนค่อนข้างต่ำ



กากมันสำปะหลัง
ที่มา  http://village.haii.or.th/vtl//images/stories//vtl/a6/b2.jpg


กากปาล์มลักษณะทั่วไป กากปาล์มเป็นเศษเหลือจากการ สกัดน้ำมันปาล์มดิบจากทะลายปาล์มสด มี 3 แบบคือ ไฟเบอร์มีลักษณะเป็นขุย กะลามีลักษณะเป็นคล้ายกะลามะพร้าวแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก โตประมาณ 1-2 ซม. และทะลายปาล์มเปล่า
แหล่ง จะได้จากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบมาตรฐาน อย่างไรก็ตามยังโรงงานสกัดอีกประเภทหนึ่งคือ นำเฉพาะผลปาล์มสดไม่รวมทะลายมาสกัด เศษที่ได้จะนำมาเป็นอาหารสัตว์
การนำไปใช้งาน ไฟเบอร์นำมาเป็นเชื้อเพลิง ในขบวนการผลิตน้ำมันปาล์มดิบ จึงมีเหลือไม่มาก ส่วนทะลายเปล่านำไปเพาะเห็ด
จุดเด่น กะลาปาล์มมีค่าความร้อนสูงสุด เหมาะนำมาเป็นเชื้อเพลิง แต่ต้องระวังเศษ น้ำมันที่ตกค้างอยู่ ส่วนทะลายปาล์มเปล่ามีเหลืออีกมากที่ยังไม่ได้นำมาใช้ และถ้านำมาเผา จะได้ขี้เถ้าที่มีแร่ธาตุโปตัสเซียมสูงมาก
จุดด้อย การที่จะนำทะลายปาล์มเปล่ามา เป็นเชื้อเพลิง ต้องนำมาผ่านขบวนการย่อย หรือตัดก่อน เพราะมีขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีสารประกอบอัลคาไลน์สูง จะทำให้ท่อน้ำในหม้อน้ำมียางเหนียวเกาะติดได้ง่าย



กากปาล์ม
ที่มา  http://www.jfkfeed.com/


ใบปาล์มและต้นปาล์ม
ลักษณะทั่วไป ใบปาล์มหรือทางปาล์มจะถูกตัดออกเพื่อนำทะลาย ปาล์มสดลงจากลำต้น มีขนาดยาวประมาณ 2-3 เมตร ส่วนลำต้นจะถูกโค่นเมื่อมีอายุ 20-25 ปี หรือเมื่อไม่สามารถให้ผลผลิตได้ดี
แหล่ง จากสวนปาล์ม
การนำไปใช้งาน ทางปาล์มใช้คลุมดิน ส่วนลำต้นเริ่มทยอยตัดในพื้นที่บางแห่ง
จุดเด่น ยังไม่มีการศึกษานำไปใช้ประโยชน์เป็นอย่างอื่น
จุดด้อย ทางปาล์มมีความชื้นสูงถึง 80 % และขนาดใหญ่


ใบปาล์ม
ที่มา  http://it.doa.go.th/palm/


ซังข้าวโพด และ ลำต้น
ลักษณะทั่วไป ซังข้าวโพดได้จากการสีข้าวโพดเพื่อนำ เมล็ดมาใช้งาน ส่วนใหญ่เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในส่วนของลำต้นจะถูกตัดหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว
แหล่ง ปัจจุบันการสีข้าวโพดจะใช้เครื่องจักรที่สามารถ เคลื่อนที่ไปตามไร่ข้าวโพด ดังนั้นจะสามารถหาซังข้าวโพดและต้นข้าวโพด ได้ตามไร ่ข้าวโพดทั่วไป
การนำไปใช้งาน ซังข้าวโพดมีประโยชน์หลายอย่าง นำไปเป็นวัตถุดิบผลิตอัลกอฮอล์ เป็นเชื้อเพลิง ผสมกับโมลาสเพื่อเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ส่วนลำต้น นำไปเลี้ยงสัตว์ได้เช่นกัน
จุดเด่น ซังข้าวโพดมีค่าความร้อนสูง เมื่อเทียบกับชีวมวลอื่นๆ ส่วนลำต้นข้าวโพดมีส่วนหนึ่งที่ไม่ได้นำไปใช้งาน ชาวไร่ข้าวโพดจะไถฝังกลบในไร่
จุดด้อย ซังข้าวโพดมีการนำไปใช้ประโยชน์หลายอย่าง ดังนั้นต้องพิจารณาถึงแหล่งที่มีการนำไปใช้งานน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้มีการแก่งแย่งกันซื้อ ส่วนลำต้น ข้าวโพดจะเก็บรวบรวมลำบาก ต้องใช้แรงคนมาก




ข้าวโพด
ที่มา  http://www.rakbankerd.com/kaset/Plant/41_2.jpg
 


ขอบคุณข้อมูลจาก   มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม (มพส.)
                           http://efe.or.th/home.php





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น