วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ป่าชายเลน

          ป่าชายเลน หรือป่าโกงกาง (Mangrove forest หรือ Intertidal forest) คือกลุ่มของสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุด และน้ำขึ้นสูงสุดบริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ หรืออ่าว ป่าชายเลนเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ทั้งพืชและสัตว์ ป่าชายเลนจึงให้ประโยชน์แก่มนุษย์มากมาย ทั้งในด้านพลังงานและไม้ใช้สอย ตลอดจนเป็นแหล่งผลิตอาหารโปรตีนที่สำคัญ เนื่องจากป่าชายเลนเป็นที่วางไข่ แหล่งอาหาร และเจริญเติบโตของสัตว์น้ำเศรษฐกิจนานาชนิด


ป่าชายเลน
ที่มา http://www.thaiwoodcentral.com/blog/wp-content/uploads/2008/06/mangroves1.jpg
      
          นอกจากนี้ ป่าชายเลนยังช่วยป้องกันภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะเป็นเกราะกำบังและลดความรุนแรง ของคลื่นลมชายฝั่ง ช่วยดักตะกอนสิ่งปฏิกูล และสารพิษต่างๆ มิให้ไหลลงไปสะสมในบริเวณชายฝั่งและในทะเล ในปัจจุบันมีปัญหาหลายประการ ได้แก่ การเพาะเลี้ยงชายฝั่ง แหล่งชุมชน แหล่งอุตสาหกรรม การเกษตรกรรม และกิจกรรมอื่นอีกหลายประเภทได้ขยายไปสู่ชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าชายเลน จนทำให้ป่าชายเลนลดลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนน่าเป็นห่วง
          ป่าชายเลนเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งในด้านการป่าไม้ การประมง และสิ่งแวดล้อม เช่น
          ในด้านป่าไม้ ไม้จากป่าชายเลนโดยเฉพาะไม้โกงกางนำมาทำฟืน เผาถ่าน ให้ถ่านที่มีคุณภาพดี ไม้ป่าชายเลนอีกหลายชนิดนำไปทำสิ่งก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ และกลั่น เอกสารเคมีที่เป็นประโยชน์ เช่น แทนนิน แอลกอฮอล์ กรดน้ำส้ม และน้ำมันดิน
          ในด้านการประมงป่าชายเลนเป็นแหล่งขยายพันธุ์ และที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด เช่น กุ้ง อันได้แก่ กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย โดยมีคนศึกษาพบว่าบริเวณป่าชายเลนประเทศไทย มีกุ้งชนิดต่างๆ ประมาณ 16 ชนิด สัตว์น้ำประเภทปลา เช่น ปลากะพงขาว ปลาเก๋า ปลากระบอก และปลานวลจันทร์ทะเล สัตว์น้ำประเภทหอย ได้แก่ หอยนางรม หอยแมลงภู่ หอยแครง และหอยกะพง สัตว์น้ำประเภทปู จะพบมากชนิด เช่น ปูแสม ปูทะเล และปูม้า เป็นต้น
          ในด้านสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน มีความสำคัญในด้านการอนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่งทะเลโดยเฉพาะช่วยลดภาระน้ำเสียและยังช่วยทำให้เกิดการงอกของแผ่นดินขยายออกไปสู่ทะเลอีกด้วย


ป่าชายเลน
ที่มา http://www.thaidphoto.com/

ห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศป่าชายเลน

          ระบบนิเวศวิทยาที่เกิดขึ้นในป่าชายเลนนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ที่มีต่อกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม พืชพรรณธรรมชาติชนิดต่าง ๆ เมื่อได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงจะทำให้เกิดอินทรียวัตถุและการเจริญเติบโต กลายเป็นผู้ผลิต (producers) ของระบบส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ นอกเหนือจากมนุษย์นำไปใช้ประโยชน์จะร่วงหล่นทับถมในน้ำและในดิน ในที่สุดก็จะกลายเป็นแร่ธาตุของพวกจุลชีวัน เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา แพลงก์ตอน ตลอดจนสัตว์เล็ก ๆ หน้าดินที่เรียกกลุ่มนี้ว่า ผู้บริโภคของระบบ (detritus consumers) พวกจุลชีวันเหล่านี้จะเจริญเติบโตกลายเป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำเล็ก ๆ อื่น ๆ และสัตว์เล็ก ๆ เหล่านี้ จะเจริญเติบโตเป็นอาหารของพวกกุ้ง ปู และปลาขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับของอาหาร (tropic levels) นอกจากนี้ ใบไม้ที่ตกหล่นโคนต้นอาจเป็นอาหารโดยตรงของสัตว์น้ำ (litter feeding) ก็ได้ ซึ่งทั้งหมดจะเกิดเป็นห่วงโซ่อาหารขึ้น ในระบบนิเวศป่าชายเลน และโดยธรรมชาติแล้วจะมีความสมดุลในตัวของมันเอง แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งก็จะเป็นผลทำให้ระบบความสัมพันธ์นี้ถูกทำลายลง จนเกิดเป็นผลเสียขึ้นได้ เช่น ถ้าหากพื้นที่ป่าชายเลนถูกบุกรุกทำลาย จำนวนสัตว์น้ำก็จะลดลงตามไปด้วยตลอดจนอาจเกิดการเน่าเสียของน้ำ


ห่วงโซ่อาหารป่าชายเลน
ที่มา http://ebook.nfe.go.th/
ประเภทของป่าชายเลน
 ป่าชายเลนสามารถแบ่งได้ 4 ชนิด 





          1.Basin forest เป็นป่าชายเลนที่มี พบติดกับแผ่นดินใหญ่ตามลำน้ำและได้อิทธิพลจากน้ำทะเลน้อยมากน้ำทะเลจะท่วมถึงเฉพาะเวลาที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุด
 

Basin forest
ที่มา http://statics.atcloud.com/
          
          2.Riren forest เป็นป่าชายเลนที่พบบริเวณชายฝั่งแม่น้ำใหญ่ที่ติดกับทะเล ทะเลสาบ มีน้ำทะเลท่วมถึงทุกวัน


Riren forest
ที่มา http://www.siamfishing.com/
           3.Fringe forest เป็นป่าชายเลนที่พบบริเวณชายฝั่งทะเลที่ติดกับแผ่นดินหรือรอบเกาะที่เป็นเกาะใหญ่ น้ำทะเลท่วมถึงเสมอเป็นประจำทุกวัน ยกเว้น ชายฝั่งทะเลของเกาะใหญ่น้ำทะเลท่วมถึงเมื่อน้ำทะเลขึ้นสูงสุด


Fringe forest
ที่มา http://www.traveleastthailand.org/imgtour/0016.jpg
           4.Overwash forest เป็นป่าชายเลนที่พบตามเกาะเล็กๆ เมื่อน้ำทะเลขึ้นสูงสุดจะท่วมต้นไม้หมด พรรณไม้ที่จะเตี้ยกว่าปกติ มีอัตราการเติบโตต่ำ

Overwash forest
ที่มา http://www.nhmi.org/mangroves/pic/w35.jpg
 ป่าชายเลนในประเทศไทย
            
             ประเทศไทยมี 22 จังหวัด ที่มีพื้นที่ป่าชายเลนตามชายฝั่งทะเลแม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบและเกาะต่างๆ ตั้งแต่ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกตลอดไปจนถึงภาคใต้ทั้งสองฝั่ง โดยมีพื้นที่รวม 1,047,390 ไร่ พื้นที่ป่าชายเลนลดลงเนื่องจากการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อการเพาะเลี้ยงกุ้งรวมทั้งการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อกิจกรรมอื่น เช่น การทำเหมืองแร่ การทำนาเกลือ การทำเกษตรกรรม การขยายชุมชนการสร้างท่าเทียบเรือ การสร้างถนนและสายส่งไฟฟ้า การสร้างโรงงานอุตสาหกรรมและการขุดลอกร่องน้ำ

ที่มา  http://www.technicchan.ac.th/~web/UserFiles/Image/SV300027.JPG

ประโยชน์ของป่าชายเลน

  • เป็นแหล่งพลังงานและอาหาร
  • เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ตามธรรมชาติ
  • เป็นเครื่องป้องกันแนวชายฝั่งทะเล
  • ควบคุมการกัดเซาะพังทลาย
  • เพื่อซับน้ำเสีย
  • เป็นแนวกำบังกระแสน้ำเชี่ยวที่ปากแม่น้ำและพายุหมุน
  • เป็นแหล่งวัตถุดิบผลิตภัณฑ์จากไม้
  • เป็นแหล่งเชื้อเพลิง
  • เป็นแหล่งวัสดุก่อสร้าง
  • เป็นแหล่งวัตถุดิบสิ่งทอและหนังสัตว์
  • เป็นแหล่งอาหาร ยา และเครื่องดื่ม
  • การผลิตกรดจากเปลือกไม้ (tannin)
  • การทำเหมือนแร่ดีบุกในบริเวณป่าชายเลน
  • ให้ผลผลิตน้ำเย็นในระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรม
  • ให้ผลผลิตเกลือ
  • ให้ผลผลิตมวลชีวภาพ (biomass) แก่แหล่งประมง
           (ก) แหล่งประมงใกล้ชายฝั่ง
           (ข) เป็นแหล่งพักอาศัยของลูกปลาและลูกกุ้ง
    
  • ให้ผลผลิตมวลชีวภาพสำหรับการเลี้ยงหอยแมลงภู่และปลา






ที่มา http://www.healthcorners.com/2007/article/img5/5_1302303593.jpg

พันธุ์ไม้ป่าชายเลนในประเทศไทย 

          1. โกงกางใบใหญ่
          2. โกงกางใบเล็ก
          3. ถั่วดำ
          4. ถั่วขาว
          5. พังกาหัวสุมดอกแดง
          6. โปรงขาว
          7. โปรงแดง
          8. ตะบูนดำ
          9. ตะบูนขาว
          10. แสมขาว
          11. แสมทะเล
          12. ลำพู
          13. ลำพูทะเล
          14. ตาตุ่มทะเล
          15. เหงือกปลาหมอ


โกงกาง
ที่มา  http://kanchanapisek.or.th/kp8/trd/trd70901.gif

เหงือกปลาหมอ
ที่มา http://biogang.net/upload_img/biodiversity/biodiversity-90774-1.jpg
ที่มา ทะเลไทยดอทคอม
         วิกิพีเดีย
         คลังปัญญาไทย

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สาเหตุการเกิดภูเขาไฟ และประเภทของภูเขาไฟ

       ภัยจากภูเขาไฟระเบิดเป็นอีกมหันตภัยหนึ่งที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ  ภูเขาไฟพบเห็นอยู่ในทุกภูมิภาคของโลกแม้แต่ในประเทศไทยก็มีภูเขาไฟอยู่หลายลูกกระจายตัวอยู่ในจังหวัดต่างๆ  ภัยจากภูเขาไฟสำหรับคนไทยแล้วอาจจะดูห่างไกลกว่าภัยธรรมชาติชนิดอื่น แต่ถึงกระนั้นเราก็ไม่ควรเพิกเฉยต่อการเปลี่ยนแปลงเสียทีเดียว นอกจากความน่าสะพรึงกลัวจากภัยภูเขาไฟแล้วภูเขาไฟบางแห่งก็มีทัศนียภาพที่สวยงามตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คงจะหนีไม่พ้นภูเขาฟูจิที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นไปแล้ว แต่ความเปลี่ยนแปลงที่อยู่ลึกลงไปภายใต้แผ่นดินความสวยงามอาจกลายเป็นภัยที่สามารถเผาผลาญชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืชได้ในพริบตาเดียว

ภูเขาไฟโบรโม (Gunung Bromo)
ที่มา  http://www.earththaitravel.com/img/indonesia/indonesia-gunung-bromo-.jpg
              
          ปัจจุบันยังคงเกิดเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดเกิดขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่ละครั้งความเสียหายของผู้เสียชีวิตอยู่ที่หลักหมื่น ในแง่ของการสูญเสียประชากรอาจจะไม่รุนแรงเท่าภัยธรรมชาติชนิดอื่นแต่ในเชิงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์แล้วภัยธรรมชาติชนิดนี้ต้องถือว่าเป็นภัยที่น่าตระหนกอย่างยิ่ง
         อินโดนีเซียประเทศเพื่อนบ้านของเราที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นเกาะแก่งมากมายเคยเกิดเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดครั้งรุนแรงมาแล้วอย่างน้อยสามครั้ง
        เมื่อราว 7 หมื่น5พันปีมีมาแล้วภูเขาไฟโทบา บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียเกิดระเบิดขึ้นทำให้มีเศษหินและขี้เถ้าขนาดยักษ์แผ่ปกคลุมโลกและบดบังดวงอาทิตย์ จนมีข้อสันนิษฐานตามมาว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นสาเหตุของการเกิดยุคน้ำแข็งยุคใหม่ของโลกขึ้น

       ปี ค.ศ.1815 ภูเขาไฟแทมโบล่า(Tambora) ในประเทศอินโดนีเซียเกิดระเบิดขึ้น การระเบิดในครั้งนั้นทำให้แผ่นดินสั่นสะเทือนและส่งเสียงกึกก้องดังไปไกลกว่า 850 กิโลเมตร การระเบิดในครั้งนั้นทำให้เกิดเศษธุลีและผงฝุ่นมหาศาลแผ่ปกคลุมโลกจนกระทั่งโลกในปีนั้นไม่มีฤดูร้อน หลังจากอีกกว่า 150 ปีต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าการระเบิดของแทมโบล่าเป็นการระเบิดของภูเขาไฟที่รุนแรงที่สุดในรอบหมื่นปี แม้แต่การระเบิดของภูเขาไฟ วิสุเวียส  (visuvius)ที่เกิดเป็นลาวาไหลท่วมทับคนทั้งเป็น ในอิตาลี หรือแม้กระทั่งการระเบิดของภูเขาไฟบนเกาะการากา (krakatoa) ประเทศอินโดนีเซียในปี 1883 ที่ทำให้เกิดเสียงกึกก้องดังไปถึง 4,828 กิโลเมตร( 3 พันไมล์) เกิดคลื่นสึนามิสูงประมาณ 100 ฟุต และทำให้ประชากรเสียชีวิตมากกว่า 3.5 หมื่นก็ยังไม่สามารถนำไปเทียบเคียงกับความรุนแรงของการระเบิดของภูเขาไฟแทมโบล่า นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการระเบิดของภูเขาไฟแทมโบล่ามีความรุนแรงเทียบเท่ากับระเบิดปรมาณูที่อเมริกาทิ้งใส่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ในคราวสงครามโลกครั้งที่สองถึง 60,000 ลูกเมื่อมีการระเบิดพร้อมกัน นั้นคือความน่าสะพรึงกลัวของภัยภูเขาไฟระเบิด

แนวภูเขาไฟของประเทศอินโดนีเซีย
ที่มา http://www.nomad4ever.com/wp-content/uploads/2008/06/indonesia-and-volcanoes-in-google-earth.jpg
 สาเหตุการเกิดภูเขาไฟ และประเภทของภูเขาไฟ

           เนื่องจากเปลือกโลกชั้นนอกของโลกเรามีพื้นที่ไม่เรียบเสมอกันเปลือกโลกชั้นในมีลักษณะเป็นหินเมื่อได้รับความร้อนที่แผ่ออกมาจากแก่นโลกทำให้กลายเป็นหินเหลวหนืดที่เรียกว่าแมกมา(หินหนืดที่อยู่ภายใต้แผ่นเปลือกโลกจะถูกเรียกว่าแมกมาเมื่อมีการดันตัวมาสู่ชั้นบรรยากาศของโลกจะถูกเรียกว่าลาวา) และเมื่อได้รับความร้อนจากแก่นโลกมากเข้าก็จะไหลวนเวียนเฉกเช่นเดียวกับน้ำในกาต้มน้ำร้อนที่วิ่งไปรอบกาน้ำพร้อมกับส่งควันพวยพุ่งออกมาตามช่องระบายภูเขาไฟก็เช่นกันและในที่สุดก็พุ่งทะลักออกมาตามรอยแยกของแผ่นเปลือกโลก
          โดยทั่วไปแล้วการเกิดภูเขาไฟประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกมาเกยกันหรือที่เรียกตามศัพท์ทางวิชาการว่า subduction zone เปลือกโลกของเราเป็นชั้นหินที่มีความแข็ง มีความหนาประมาณ 40-60 กิโลเมตร ผิวโลกมีลักษณะเป็นแผ่นไม่ได้รวมเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั้งโลก เปลือกโลกถูกแบ่งออกตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ได้เป็น 2 ประเภท Oceanic plate คือแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใต้มหาสมุทรกับ Continental plate หรือแผ่นทวีป ซึ่งปรากฏอยู่ตามส่วนที่เป็นพื้นดิน   ดังนั้นเมื่อได้รับความร้อนจากแก่นโลกก็จะทำให้แผ่นโลกเกิดการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาโดยกะประมาณว่าแผ่นโลกของเราจะมีการเคลื่อนที่ประมาณ 10 เซนติเมตรต่อปี และเมื่อแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นเคลื่อนที่ชนกันก็จะทำให้แผ่นโลกแผ่นหนึ่งมุดลงใต้แผ่นโลกอีกแผ่นหนึ่ง  แผ่นที่มุดต่ำลงจะเข้าสู่ชั้นเปลือกโลกที่มีความร้อนสูงดังนั้นเกิดเป็นพลังงานความร้อนที่พยายามดันตัวออกมาสู่ภายนอก ลักษณะของการเกยกันของแผ่นเปลือกโลกนี้เองที่เราเรียกว่า subduction zone ภูเขาไฟมักจะเกิดตามแนว subduction zoneนี้

ภาพการเกิดภูเขาไฟระเบิดตามแนว subduction zone
ที่มา http://lh4.ggpht.com/_9QJze-_72EE/Sz7zsh_T3QI/AAAAAAAAEG8/U3m5RaPxnQI/5.gif
          ส่วนอีก 5 เปอร์เซ็นต์ของการเกิดเป็นภูเขาไฟระเบิดจะไม่เกิดตามแนวรอยแยกของแผ่นเปลือกโลกแต่จะเกิดในพื้นที่ช่วงกลางแผ่นเปลือกโลก ปรากฏการณ์เช่นนี้ จะเกิดโดยมีการสะสมของแมกมาจำนวนมากใต้แผ่นเปลือกโลกเมื่อมีจำนวนแมกมาจำนวนมากก็จะเกิดแรงดันจำนวนมหาศาลทำให้แมกมาไหลท่วมออกมาจนสามารถทำให้แผ่นเปลือกโลกขยับได้ นักวิทยาศาสตร์เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า mantle plume หรือ hot อย่างเช่นการเกิดภูเขาไฟในหมู่เกาะฮาวาย


การเกิดภูเขาไฟระเบิดแบบ hotspot
ภาพจาก http://www.cotf.edu/
          ภูเขาไฟสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทเช่นแบ่งตาม รูปร่าง แบ่งตาม ลักษณะทางกายภาพของสิ่งที่ประทุออกมา แบ่งตามการปะทุ แบ่งตามวัตถุที่มาสะสมกันรอบๆปล่องภูเขาไฟ  แบ่งตามประวัติของการปะทุที่เคยถูกบันทึกไว้  แต่การแบ่งซึ่งเป็นที่นิยมที่สุดก็คงจะเป็นการแบ่งลักษณะภูเขาไฟรูปร่าง
การแบ่งภูเขาไฟตามรูปร่าง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท(ในบางตำราอาจจะแบ่งเป็น4ประเภท)

1. Shield Volcano หรือภูเขาไฟแบบโล่ห์ ภูเขาไฟแบบนี้เกิดจากธารลาวาเหลวไหลออกมาตามรอยแยกของแผ่นเปลือกโลก การปะทุของภูเขาไฟชนิดนี้จะไม่ระเบิดรุนแรง แต่เป็นแบบน้ำพุลาวา โดยลาวาจะมีลักษณะที่เหลวและมีอุณหภูมิสูงมากทำให้ไหลไปได้เป็นระยะทางไกลภูเขาไฟที่จัดอยู่ในประเภทนี้จะมีลักษณะกว้างและไม่ชัน ภูเขาไฟ Mauna Loa ในฮาวาย เป็น Shield Volcano ที่ใหญ่ที่สุดในโลก



ภูเขาไฟ Mauna Loa
ที่มา http://www.trendsnnews.com/wp-content/uploads/2011/03/Mauna-Loa-1.jpg
 2. Composite Cone  หรือภูเขาไฟแบบกรวยสลับชั้น การเกิดภูเขาไฟแบบนี้เกิดจากจากการสลับหมุนเวียนของชั้นลาวาและชั้นเศษหินและจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการประทุอย่างกระทันหัน ในขณะที่แมกมาจะมีความหนืดและอุณหภูมิที่สูงมาก การระเบิดของภูเขาไฟแบบนี้ถือว่ามีความรุนแรงมากที่สุด ภูเขาไฟแบบนี้ได้แก่ภูเขาไฟ ภูเขาไฟฟูจิ (Mt Fuji) ในญี่ปุ่น ภูเขาไฟมายอน (Mt Mayon) ในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นต้น

ภูเขาไฟฟูจิ
ที่มา http://upload.wikimedia.org/


3. Cinder Cone Volcano หรือภูเขาไฟกรวยกรวด ภูเขาไฟแบบนี้ จะมีลักษณะสูงชันมาก เนื่องจากลาวามีความหนืดมากทำให้ไหลได้ไม่ต้องเนื่อง ลาวาที่ไหลออกมามีลักษณะเป็นทรงกลม พุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟเพียงปล่องเดียว ดังนั้นเมื่อเกิดการระเบิดของภูเขาไฟชนิดก็มักจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมาก

ภูเขาไฟแบบกรวยกรวด
ที่มา  http://serc.carleton.edu/


     ภูเขาไฟกระจัดกระจายอยู่ในทุกภูมิภาคของโลกบางก็เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว บางก็เป็ภูเขาไฟที่รอวันประทุ จากข้อมูลทางด้านธรณีวิทยาระบุโลกเราภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่มีความสูงกว่า 15,000 ฟุตอยู่ถึง 14 แห่ง คือ
 
<>
ลัลไลเลโคประเทศอาร์เจนตินา-ประเทศชิลี มีความสูง   22109  ฟุต
กัวลาติรี  ประเทศชิลี  มีความสูง  19,918   ฟุต
ตูปันเกไตโต   ประเทศชิลีมีความสูง  19,685  ฟุต
โคโตแปกซีประเทศเอกวาดอร์ มีความสูง   19,393  ฟุต     
เอลมิสตีประเทศเปรูมีความสูง  19,101  ฟุต 
ปิโกเดอโอริซาบาประเทศเม็กซิโกมีความสูง    18,619   ฟุต
ลาสการ์ประเทศชิลี มีความสูง    18,346   ฟุต
โปโปคาเตเปติ ประเทศเม็กซิโกมีความสูง   17,802    ฟุต
เนวาโด เดล รูอิซประเทศโคลัมเบีย มีความสูง    17,457   ฟุต  
ซังเกย์ประเทศเอกวาดอร์ มีความสูง   17,159    ฟุต
อิรัปปูตุนคู ประเทศชิลีมีความสูง   16,939    ฟุต
คลูเชฟสกอย    แหลมแคมชัทกา ประเทศรัสเซีย มีความสูง15,863    ฟุต
กัวกัวปิชินชาประเทศเอกวาดอร์มีความสูง   15,696    ฟุต     
ปูราเช่   ประเทศโคลัมเบีย  มีความสูง     15,256  ฟุต  



   
ระเบิดของภูเขาไฟ                   ภูเขาไฟในโลกเรามีทั้งแบบที่เป็นภูเขาไฟมีพลัง (active volcanoes)คือภูเขาที่ยังคงมีการประทุอยู่ ภูเขาไฟสงบ (dormant volcanoes)คือ ภูเขาที่เคยมีการประทุในอดีตส่วนปัจจุบันจะไม่มีการประทุอีก และ ภูเขาไฟดับสนิท (extint volcanoes) คือภูเขาไฟที่ไม่มีการประทุมาตั้งแต่ในอดีต
                   ดังนั้นภูเขาที่อาจจะเกิดการประทุขึ้นได้คือภูเขาไฟมีพลังนั้นเองเมื่อมีการประทุขึ้นของภูเขาไฟ หินหนืดที่อยู่ในแผ่นเปลือกโลกชั้นในซึ่งประกอบไปด้วยธาตุต่างๆที่รวมตัวกันเป็นของเหลวหรือที่รู้จักกันในนามแมกมา ธาตุบางชนิดซึ่งเป็นส่วนประกอบของหินหนืดจะกลายเป็นแก๊สและเมื่อหินหนืดที่มีความร้อนสูงเคลื่อนตัวเข้าใกล้ผิวโลกก๊าซซึ่งมีน้ำหนักเบากว่าลอยตัวอยู่เหนือหินหนืดและพยายามดันตัวเองผ่านเปลือกโลกออกมา หากปล่องของภูเขาไฟถูกปิดอยู่ก็จะเกิดก๊าซจำนวนมากสะสมอยู่บริเวณปากปล่อง
                  เมื่อมากพอก๊าซดังกล่าวก็จะดันจนชั้นหินที่ปิดอยู่นั้นแตกกระจาย กลายเป็นเศษหินชิ้นเล็กชิ้นน้อย พร้อมกับถูกดันขึ้นไปในอากาศพร้อมกับหินหนืด หลังจากนั้นก็จะไหลลงสู่พื้นโลก การดันตัวและไหลของหินหนืดหรือแมกมานี้อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งแบบการไหลที่มีลักษณะเคลื่อนตัวอย่างช้าๆหรือปะทุอย่างรุนแรงทำให้ฝุ่นละอองและเศษหินลอยครอบคลุมอยู่ในชั้นบรรยากาศโลก ความแตกต่างของการที่หินหนืดจะดันตัวออกมาในลักษณะของการระเบิดหรือไหลเคลื่อนตัวไปอย่างช้าๆนี้ นักวิทยาศาสตร์พบว่าส่วนประกอบของหินหนืดเป็นองค์ประกอบสำคัญในการที่ทำให้ภูเขาไฟระเบิดแต่ละครั้งมีลักษณะของความรุนแรงที่แตกต่างกันแบ่งเป็นกรณีดังนี้
1) หากหินหนืดประกอบไปด้วยเหล็กและแมกนีเซียมเป็นจำนวนมากก็จะมีความหนืดน้อยจึงทำไหลออกมาอย่างช้าๆ
2) หากหินหนืดประกอบด้วยซิลิกามาก ก็จะมีความหนืดมาก ดังนั้นเมื่อมีการปะทุขึ้นมันจึงระเบิดออกมา
3) หินหนืดที่มีก๊าซประปนอยู่มาก การปะทุในลักษณะนี้จะเป็นการระเบิดที่รุนแรง


ดังนั้นเมื่อมีภูเขาไฟระเบิดขึ้นสิ่งที่ถูกดันผ่านชั้นเปลือกโลกออกมาก็จะมีทั้งสถานะ ของแข็ง ของเหลวและก๊าซ

ภูเขาไฟระเบิด
ที่มา http://i.kapook.com/ninn/n5-0210/260210_sakurajima-volcano_04.jpg
             
                 ของแข็ง      จะพบในลักษณะของลาวาหลาก(lava flow) ที่จะไหลแผ่ไปเป็นรัศมีหลายร้อยกิโลเมตร มีขนาดตั้งแต่เป็นผงฝุ่นขนาดเล็กหรือมีขนาดใหญ่หนักหลายตันเมื่ออุณหภูมิลดลงก็จะกลายเป็นหินที่เรียกว่า ตะกอนภูเขาไฟ (pyroclastic) ส่วนที่ปลิวว่อนไปในอากาศเมื่อเย็นตัวลงจะเรียก เถ้าธุลีภูเขาไฟ (volcanic ash)  เป็นต้น
                ของเหลว     ลาวาเป็นของเหลวที่พุ่งผ่านปล่องภูเขาไฟขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศลาวาจะมีลักษณะที่แตกต่างกันในการระเบิดแต่ละครั้ง เช่น ธาตุส่วนประกอบที่แตกต่างกันก่อให้เกิดการประทุของภูเขาไฟที่แตกต่างกันดั่งที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น และในลักษณะรูปร่างของภูเขาไฟที่แตกต่างกันก็มีผลโดยตรงมาจากคุณสมบัติและลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกันของลาวาด้วยเช่นกัน

   ก๊าซ  ที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดจะประกอบด้วย ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซต์ คลอรีน
และก๊าซไข่เน่า เป็นต้น

* ข้อมูลจาก กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ภูเขาไฟในประเทศไทย

ในประเทศไทยมีภูเขาไฟอยู่ในทุกภูมิภาค ลักษณะของภูเขาไฟในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาไฟแบบโล่ (Shield Volcano) ซึ่งคุณสมบัติของลาวาจะไหลได้ง่ายดังนั้นหากมีการระเบิดขึ้นก็จะไม่รุนแรง ซ้ำภูเขาไฟในทุกภูมิภาคของไทยเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว

ภาคเหนือ   พบในเขตจังหวัด ลำปาง เชียงราย แพร่ น่าน และอุตรดิตถ์
ภาคกลาง  พบในเขตจังหวัดสุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์  สระบุรี และลพบุรี
ภาคตะวันออก พบในเขตจังหวัด ปราจีนบุรี  จันทบุรี นครนายก และตราด
ภาคตะวันตก พบในเขตจังหวัด กาญจนบุรีและจังหวัดตาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบในเขตจังหวัด นครราชสีมา ศรีษะเกษ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ เลย และสุรินทร์

ภูเขาไฟที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยอยู่ในเขตจังหวัดเลยโดยมีอายุราว 395-435 ล้านปีมาแล้ว ซึ่งมีอายุมากกว่าปล่องภูเขาไฟที่พบในจังหวัดสุโขทัยและบุรีรัมย์ที่มีอายุเพียง 20 -30 ล้านปีเท่านั้นเอง

การเกิดระเบิดของภูเขาไฟใช่ว่าจะนำพามาแต่ความหายนะอย่างเดียว ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดก็ยังมีอยู่เช่นกัน  การระเบิดของภูเขาไฟถือเป็นการปรับสภาพของเปลือกโลกให้มีความสมดุลยิ่งขึ้น  ฝุ่นที่ละอองซึ่งเกิดจากแรงระเบิดของภูเขาไฟจะฟุ้งกระจายอยู่ในชั้นบรรยากาศสตาโตสเฟียร์ทำให้อุณหภูมิโลกเย็นลงจากสภาวะเรือนกระจก นอกจากนี้ดินที่เกิดจากแหล่งภูเขาไฟจะเต็มไปด้วยแร่ธาตุซึ่งเหมาะสำหรับทำการเกษตร ทั้งยังทำให้เกิดแหล่งแร่ที่สำคัญเช่น เพชร เหล็ก เป็นต้น

แม้ภัยธรรมชาติจากภูเขาไฟระเบิดแทบจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นกับเมืองไทยในยุคปัจจุบัน แต่สิ่งเหล่านี้คือการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติก่อเกิดเป็นภัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์  ธรรมชาติมีสิ่งที่ให้เราเรียนรู้และทำความเข้าใจอยู่เสมอ การเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่าจากภายใต้โลกใบโต นำความรับรู้ใหม่ๆมาให้เราได้ทำความเข้าใจว่าธรรมชาติเปลี่ยนแปลงเกิดจากอะไร  ซึ่งมีน่าสนใจพอๆกับตำนานที่เล่าขานกันว่ามีสัตว์ขนาดมหึมานอนหนุนโลกอยู่ตามความรับรู้เดิมๆของมนุษย์เรา  นี้อาจจะเป็นเสน่ห์ของการเรียนรู้จากธรรมชาติเพื่อความเข้าใจอย่างเท่าทันและอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล...แหละนี้คือเสน่ห์ของวิทยาศาสตร์
โดย วิรุฬหกกลับ


ที่มา http://www.vcharkarn.com/varticle/37243

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย

                ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต  ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ  เพราะป่าไม้มีประโยชน์ทั้งการเป็นแหล่งวัตถุดิบของปัจจัยสี่  คือ  อาหาร  เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรคสำหรับมนุษย์ และยังมีประโยชน์ในการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม  ถ้าป่าไม้ถูกทำลายลงไปมาก ๆ  ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ  เช่น  สัตว์ป่า  ดิน  น้ำ  อากาศ  ฯลฯ เมื่อป่าไม้ถูกทำลาย  จะส่งผลไปถึงดินและแหล่งน้ำด้วย  เพราะเมื่อเผาหรือถางป่าไปแล้ว  พื้นดินจะโล่งขาดพืชปกคลุม  เมื่อฝนตกลงมาก็จะชะล้างหน้าดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินไป  นอกจากนั้นเมื่อขาดต้นไม้คอยดูดซับน้ำไว้น้ำก็จะไหลบ่าท่วมบ้านเรือน และที่ลุ่มในฤดูน้ำหลากพอถึงฤดูแล้งก็ไม่มีน้ำซึมใต้ดินไว้หล่อเลี้ยงต้นน้ำลำธารทำให้แม่น้ำมีน้ำน้อย  ส่งผลกระทบต่อมาถึงระบบเศรษฐกิจและสังคม  เช่น  การขาดแคลนน้ำในการการชลประทานทำให้ทำนาไม่ได้ผลขาดน้ำมาผลิตกระแสไฟฟ้า


ประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย
    ประเภทของป่าไม้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการกระจายของฝน  ระยะเวลาที่ฝนตกรวมทั้งปริมาณน้ำฝนทำให้ป่าแต่ละแห่งมีความชุ่มชื้นต่างกัน  สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
 ก.  ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ  (Evergreen)
 ข.  ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Deciduous)



ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ (Evergreen)
ป่าประเภทนี้มองดูเขียวชอุ่มตลอดปี  เนื่องจากต้นไม้แทบทั้งหมดที่ขึ้นอยู่เป็นประเภทที่ไม่ผลัดใบ  ป่าชนิดสำคัญซึ่งจัดอยู่ในประเภท  นี้  ได้แก่

1.  ป่าดงดิบ (Tropical Evergreen Forest or Rain Forest)ป่าดงดิบที่มีอยู่ทั่วในทุกภาคของประเทศ แต่ที่มีมากที่สุด  ได้แก่  ภาคใต้และภาคตะวันออก  ในบริเวณนี้มีฝนตกมากและมีความชื้นมากในท้องที่ภาคอื่น  ป่าดงดิบมักกระจายอยู่บริเวณที่มีความชุ่มชื้นมาก ๆ  เช่น  ตามหุบเขาริมแม่น้ำลำธาร  ห้วย  แหล่งน้ำ และบนภูเขา  ซึ่งสามารถแยกออกเป็นป่าดงดิบชนิดต่าง ๆ  ดังนี้

            1.ป่าดิบชื้น (Moist Evergreen Forest) เป็นป่ารกทึบมองดูเขียวชอุ่มตลอดปีมีพันธุ์ไม้หลายร้อยชนิดขึ้นเบียด
            เสียด กันอยู่มักจะพบกระจัดกระจายตั้งแต่ความสูง 600 เมตร  จากระดับน้ำทะเล  ไม้ที่สำคัญก็คือ ไม้ตระกูลยาง
            ต่าง  เช่น  ยางนา  ยางเสียน  ส่วนไม้ชั้นรอง คือ  พวกไม้กอ  เช่น  กอน้ำ  กอเดือย
            1.2  ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) เป็นป่าที่อยู่ในพื้นที่ค่อนข้างราบมีความชุ่มชื้นน้อย  เช่น  ในแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-600 เมตร  ไม้ที่สำคัญได้แก่  มะคาโมง  ยางนา  พยอม  ตะเคียนแดง  กระเบากลัก และตาเสือ

            1.3  ป่าดิบเขา (Hill  Evergreen Forest)
        ป่าชนิดนี้เกิดขึ้นในพื้นที่สูง ๆ หรือบนภูเขาตั้งแต่ 1,000-1,200 เมตร  ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล  ไม้ส่วนมากเป็นพวก   Gymonosperm  ได้แก่  พวกไม้ขุนและสนสามพันปี  นอกจากนี้ยังมีไม้ตระกูลกอขึ้นอยู่  พวกไม้ชั้นที่สองรองลงมา
           ได้แก่  เป้ง  สะเดาช้าง และขมิ้นต้น



            
         

ป่าดงดิบ
ที่มา http://pirun.ku.ac.th/~b5103132/images/157134.jpg

2.  ป่าสนเขา (Pine Forest)
ป่าสนเขามักปรากฎอยู่ตามภูเขาสูงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ซึ่งมีความสูงประมาณ 200-1800 เมตร  ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเลในภาคเหนือ  ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  บางทีอาจปรากฎในพื้นที่สูง 200-300 เมตร  จากระดับน้ำทะเลในภาคตะวันออกเฉียงใต้  ป่าสนเขามีลักษณะเป็นป่าโปร่ง  ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าชนิดนี้คือ สนสองใบ และสนสามใบ  ส่วนไม้ชนิดอื่นที่ขึ้นอยู่ด้วยได้แก่พันธุ์ไม้ป่าดิบเขา  เช่น  กอชนิดต่าง ๆ หรือพันธุ์ไม้ป่าแดงบางชนิด คือ เต็ง  รัง  เหียง  พลวง  เป็นต้น
ป่าสนเขา


          3.  ป่าชายเลน (Mangrove Forest)
บางทีเรียกว่า "ป่าเลนน้ำเค็มหรือป่าเลน มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นแต่ละชนิดมีรากค้ำยันและรากหายใจ  ป่าชนิดนี้ปรากฎอยู่ตามที่ดินเลนริมทะเลหรือบริเวณปากน้ำแม่น้ำใหญ่ ๆ  ซึ่งมีน้ำเค็มท่วมถึงในพื้นที่ภาคใต้มีอยู่ตามชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน  ตามชายทะเลภาคตะวันออกมีอยู่ทุกจังหวัดแต่ที่มากที่สุดคือ บริเวณปากน้ำเวฬุ  อำเภอลุง  จังหวัดจันทบุรี
พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าชายเลน  ส่วนมากเป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็กใช้ประโยชน์สำหรับการเผาถ่านและทำฟืนไม้ชนิดที่สำคัญ คือ โกงกาง  ประสัก  ถั่วขาว  ถั่วขำ  โปรง  ตะบูน  แสมทะเล  ลำพูนและลำแพน  ฯลฯ  ส่วนไม้พื้นล่างมักเป็นพวก  ปรงทะเลเหงือกปลายหมอ  ปอทะเล และเป้ง  เป็นต้น

ป่าชายเลน
ที่มา http://studentwork.srp.ac.th/Website/Science/mangrove/value/problem/A727_1.jpg

           4.  ป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืด (Swamp Forest)  

ป่าชนิดนี้มักปรากฎในบริเวณที่มีน้ำจืดท่วมมาก ๆ  ดินระบายน้ำไม่ดีป่าพรุในภาคกลาง  มีลักษณะโปร่งและมีต้นไม้ขึ้นอยู่ห่าง ๆ  เช่น  ครอเทียน  สนุ่น  จิก  โมกบ้าน  หวายน้ำ  หวายโปร่ง  ระกำ  อ้อ และแขม  ในภาคใต้ป่าพรุมีขึ้นอยู่ตามบริเวณที่มีน้ำขังตลอดปีดินป่าพรุที่มีเนื้อที่มากที่สุดอยู่ในบริเวณจังหวัดนราธิวาสดินเป็นพีท  ซึ่งเป็นซากพืชผุสลายทับถมกัน  เป็นเวลานานป่าพรุแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ ตามบริเวณซึ่งเป็นพรุน้ำกร่อยใกล้ชายทะเลต้นเสม็ดจะขึ้นอยู่หนาแน่นพื้นที่มีต้นกกชนิดต่าง ๆ เรียก "ป่าพรุเสม็ด หรือ ป่าเสม็ดอีกลักษณะเป็นป่าที่มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ  มากชนิดขึ้นปะปนกันชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าพรุ  ได้แก่  อินทนิล  น้ำหว้า  จิก  โสกน้ำ  กระทุ่มน้ำภันเกรา  โงงงันกะทั่งหัน  ไม้พื้นล่างประกอบด้วย  หวาย  ตะค้าทอง  หมากแดง
และหมากชนิดอื่น ๆ

 
ป่าพรุ
ที่มา http://chm-thai.onep.go.th/


5.  ป่าชายหาด (Beach Forest)
เป็นป่าโปร่งไม่ผลัดใบขึ้นอยู่ตามบริเวณหาดชายทะเล  น้ำไม่ท่วมตามฝั่งดินและชายเขาริมทะเล  ต้นไม้สำคัญที่ขึ้นอยู่ตามหาดชายทะเล  ต้องเป็นพืชทนเค็ม และมักมีลักษณะไม้เป็นพุ่มลักษณะต้นคดงอ  ใบหนาแข็ง  ได้แก่  สนทะเล  หูกวาง  โพธิ์ทะเล  กระทิง  ตีนเป็ดทะเล  หยีน้ำ  มักมีต้นเตยและหญ้าต่าง ๆ ขึ้นอยู่เป็นไม้พื้นล่าง  ตามฝั่งดินและชายเขา  มักพบไม้เกตลำบิด  มะคาแต้  กระบองเพชร  เสมา และไม้หนามชนิดต่าง ๆ  เช่น  ซิงซี่  หนามหัน  กำจาย  มะดันขอ  เป็นต้น



ป่าชายหาด
ที่มา http://chonburiservice.com/images/picture_xcynX.jpg

 

         ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Declduous)

           ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าประเภทนี้เป็นจำพวกผลัดใบแทบทั้งสิ้น  ในฤดูฝนป่าประเภทนี้จะมองดูเขียวชอุ่มพอถึงฤดูแล้ง
           ต้นไม้  ส่วนใหญ่จะพากันผลัดใบทำให้ป่ามองดูโปร่งขึ้น และมักจะเกิดไฟป่าเผาไหม้ใบไม้และต้นไม้เล็ก ๆ  ป่าชนิด
           สำคัญซึ่งอยู่ในประเภทนี้  ได้แก่

            1.  ป่าเบญจพรรณ (Mixed Declduous Forest)

            ป่าผลัดใบผสม หรือป่าเบญจพรรณมีลักษณะเป็นป่าโปร่งและยังมีไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ  ขึ้นอยู่กระจัด
            กระจายทั่วไปพื้นที่ดิน มักเป็นดินร่วนปนทราย  ป่าเบญจพรรณ  ในภาคเหนือมักจะมีไม้สักขึ้นปะปนอยู่ทั่วไปครอบคลุม
            ลงมาถึงจังหวัด กาญจนบุรี  ในภาคกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก  มีป่าเบญจพรรณน้อยมากและ
            กระจัดกระจายพันธุ์ไม้ชนิดสำคัญได้แก่  สัก  ประดู่แดง  มะค่าโมง  ตะแบก  เสลา  อ้อยช้าง  ส้าน  ยม  หอม  ยมหิน 
            มะเกลือ สมพง  เก็ดดำ  เก็ดแดง  ฯลฯ  นอกจากนี้มีไม้ไผ่ที่สำคัญ  เช่น  ไผ่ป่า  ไผ่บง  ไผ่ซาง  ไผ่รวก ไผ่ไร  เป็นต้น

ป่าเบญจพรรณ
ที่มา http://www.dnp.go.th/research/picture/Naturals/teng.GIF
           2.  ป่าเต็งรัง (Declduous Dipterocarp Forest)
       หรือที่เรียกกันว่าป่าแดง  ป่าแพะ  ป่าโคก  ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง  ตามพื้นป่ามักจะมีโจด  ต้นแปรง และหญ้าเพ็ก  พื้นที่แห้งแล้งดินร่วนปนทราย หรือกรวด  ลูกรัง  พบอยู่ทั่วไปในที่ราบและที่ภูเขา  ในภาคเหนือส่วนมากขึ้นอยู่บนเขาที่มีดินตื้นและแห้งแล้งมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีป่าแดงหรือป่าเต็งรังนี้มากที่สุด  ตามเนินเขาหรือที่ราบดินทรายชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญในป่าแดง หรือป่าเต็งรัง  ได้แก่  เต็ง  รัง  เหียง  พลวง  กราด  พะยอม  ติ้ว  แต้ว  มะค่าแต  ประดู่  แดง  สมอไทย  ตะแบก  เลือดแสลงใจ  รกฟ้า  ฯลฯ  ส่วนไม้พื้นล่างที่พบมาก  ได้แก่  มะพร้าวเต่า  ปุ่มแป้ง  หญ้าเพ็ก  โจด  ปรงและหญ้าชนิดอื่น ๆ

ป่าเต็งรัง
ที่มา http://www2.swu.ac.th/royal/book2/b2c3p15o.jpg

 3.  ป่าหญ้า (Savannas Forest)
        หญ้าที่อยู่ทุกภาคบริเวณป่าที่ถูกแผ้วถางทำลายบริเวณพื้นดินที่ขาดความสมบูรณ์และถูกทอดทิ้ง  หญ้าชนิดต่าง ๆ  จึงเกิดขึ้นทดแทนและพอถึงหน้าแล้งก็เกิดไฟไหม้ทำให้ต้นไม้บริเวณข้างเคียงล้มตาย  พื้นที่ป่าหญ้าจึงขยายมากขึ้นทุกปี  พืชที่พบมากที่สุดในป่าหญ้าก็คือ  หญ้าคา  หญ้าขนตาช้าง  หญ้าโขมง  หญ้าเพ็กและปุ่มแป้ง  บริเวณที่พอจะมีความชื้นอยู่บ้าง และการระบายน้าได้ดีก็มักจะพบพงและแขมขึ้นอยู่ และอาจพบต้นไม้ทนไฟขึ้นอยู่  เช่น  ตับเต่า  รกฟ้าตานเหลือ  ติ้วและแต้ว

ป่าหญ้า
ที่มา http://www.thaigoodview.com/files/u31187/z20.jpg

ประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้

            ป่าไม้มีประโยชน์มากมายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม  ได้แก่.
        
            ประโยชน์ทางตรง (Direct Benefits)
ได้แก่  ปัจจัย 4 ประการ
1.  จากการนำไม้มาสร้างอาคารบ้านเรือนและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ  เช่น  เฟอร์นิเจอร์  กระดาษ  ไม้ขีดไฟ  ฟืน  เป็นต้น
2.  ใช้เป็นอาหารจากส่วนต่าง ๆ ของพืชและผล
3.  ใช้เส้นใย  ที่ได้จากเปลือกไม้และเถาวัลย์มาถักทอ  เป็นเครื่องนุ่งห่ม  เชือกและอื่น ๆ
4.  ใช้ทำยารักษาโรคต่าง ๆ
     
            ประโยชน์ทางอ้อม (Indirect Benefits)           
                 ป่าไม้เป็นเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารเพราะต้นไม้จำนวนมากในป่าจะทำให้น้ำฝนที่ตกลงมาค่อย ๆ ซึมซับลงในดิน
            กลายเป็นน้ำใต้ดินซึ่งจะไหลซึมมาหล่อเลี้ยงให้แม่น้ำ  ลำธารมีน้ำไหลอยู่ตลอดปี
2.  ป่าไม้ทำให้เกิดความชุ่มชื้นและควบคุมสภาวะอากาศ  ไอน้ำซึ่งเกิดจากการหายใจของพืช  ซึ่งเกิดขึ้นอยู่มากมายในป่าทำให้อากาศเหนือป่ามีความชื้นสูงเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงไอน้ำเหล่านั้นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นเมฆแล้วกลายเป็นฝนตกลงมา  ทำให้บริเวณที่มีพื้นป่าไม้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ  ฝนตกต้องตามฤดูกาลและไม่เกิดความแห้งแล้ง
3.  ป่าไม้เป็นแหล่งพักผ่อนและศึกษาความรู้ บริเวณป่าไม้จะมีภูมิประเทศที่สวยงามจากธรรมชาติรวมทั้งสัตว์ป่าจึงเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจได้ดี  นอกจากนั้นป่าไม้ยังเป็นที่รวมของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์จำนวนมาก  จึงเป็นแหล่งให้มนุษย์ได้ศึกษาหาความรู้
4.  ป่าไม้ช่วยบรรเทาความรุนแรงของลมพายุและป้องกันอุทกภัย โดยช่วยลดความเร็วของลมพายุที่พัดผ่านได้ตั้งแต่  ๑๑-๔๔  %  ตามลักษณะของป่าไม้แต่ละชนิด  จึงช่วยให้บ้านเมืองรอดพ้นจากวาตภัยได้ซึ่งเป็นการป้องกันและควบคุมน้ำตามแม่น้ำไม่ให้สูงขึ้นมารวดเร็วล้นฝั่งกลายเป็นอุทกภัย
5.  ป่าไม้ช่วยป้องกันการกัดเซาะและพัดพาหน้าดิน  จากน้ำฝนและลมพายุโดยลดแรงปะทะลงการหลุดเลือนของดินจึงเกิดขึ้นน้อย และยังเป็นการช่วยให้แม่น้ำลำธารต่าง ๆ  ไม่ตื้นเขินอีกด้วย  นอกจากนี้ป่าไม้จะเป็นเสมือนเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติ  จึงนับว่ามีประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ด้วยเช่นกัน

สาเหตุสำคัญของวิกฤตการณ์ป่าไม้ในประเทศไทย

           


    1.  การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า  ตัวการของปัญหานี้คือนายทุนพ่อค้าไม้  เจ้าของโรงเลื่อย  เจ้าของโรงงานแปรรูปไม้  ผู้รับสัมปทานทำไม้และชาวบ้านทั่วไป  ซึ่งการตัดไม้เพื่อเอาประโยชน์จากเนื้อไม้ทั้งวิธีที่ถูกและผิดกฎหมาย  ปริมาณป่าไม้ที่ถูกทำลายนี้นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  ตามอัตราเพิ่มของจำนวนประชากร  ยิ่งมีประชากรเพิ่มขึ้นเท่าใด  ความต้องการในการใช้ไม้ก็เพิ่มมากขึ้น  เช่น  ใช้ไม้ในการปลูกสร้างบ้านเรือนเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตรกรรมเครื่องเรือนและถ่านในการหุงต้ม  เป็นต้น
 2.  การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อเข้าครอบครองที่ดิน  เมื่อประชากรเพิ่มสูงขึ้น  ความต้องการใช้ที่ดินเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินก็อยู่สูงขึ้น เป็นผลผลักดันให้ราษฎรเข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่าไม้  แผ้วถางป่า หรือเผาป่าทำไร่เลื่อนลอย  นอกจากนี้ยังมีนายทุนที่ดินที่จ้างวานให้ราษฎรเข้าไปทำลายป่าเพื่อจับจองที่ดินไว้ขายต่อไป
            3.  การส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออก เช่น  มันสำปะหลัง  ปอ 
          เป็นต้น  โดยไม่ส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้ง ๆ ที่พื้นที่ป่าบางแห่งไม่เหมาะสม
          ที่จะนำมาใช้ในการเกษตร 
           4.  การกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่ากระทำไม่ชัดเจนหรือไม่กระทำเลยในหลาย ๆ พื้นที่ ทำให้
           ราษฎรเกิดความสับสนทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา  ทำให้เกิดการพิพาทในเรื่องที่ดินทำกิน
           และที่ดินป่าไม้อยู่ตลอดเวลาและมักเกิดการร้องเรียนต่อต้านในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน
           5.  การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ เช่น  เขื่อน  อ่างเก็บน้ำ  เส้นทางคมนาคม  การสร้าง
         เขื่อนขวางลำน้ำจะทำให้พื้นที่เก็บน้ำหน้าเขื่อนที่อุดมสมบูรณ์ถูกตัดโค่นมาใช้ประโยชน์  ส่วน
         ต้นไม้ขนาดเล็กหรือที่ทำการย้ายออกมาไม่ทันจะถูกน้ำท่วมยืนต้นตาย  เช่น  การสร้างเขื่อน
         รัชชประภาเพื่อกั้นคลองพระแสงอันเป็นสาขาของแม่น้ำพุมดวง-ตาปีทำให้น้ำท่วมบริเวณป่าดง
         ดิบซึ่งมีพันธุ์ไม้หนาแน่นประกอบด้วยสัตว์นานาชนิดนับแสนไร่  ต่อมาจึงเกิดปัญหาน้ำเน่า
        ไหลลงลำน้ำพุมดวง                
        6.  ไฟไหม้ป่ามักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง  ซึ่งอากาศแห้งและร้อนจัด  ทั้งโดยธรรมชาติและจาก
      การกระทำของมะม่วงที่อาจลักลอบเผาป่าหรือเผลอ  จุดไฟทิ้งไว้โดยเฉพาะในป่าไม้เป็นจำนวน
      มาก              
        7.  การทำเหมืองแร่ แหล่งแร่ที่พบในบริเวณที่มีป่าไม้ปกคลุมอยู่ มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดหน้า
       ดินก่อนจึงทำให้ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมถูกทำลายลง  เส้นทางขนย้ายแร่ในบางครั้งต้องทำลายป่าไม้
       ลงเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างถนนหนทาง  การระเบิดหน้าดิน  เพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ธาตุส่งผลถึงการ
       ทำลายป่า


         การอนุรักษ์ป่าไม้

              ป่าไม้ถูกทำลายไปจำนวนมาก  จึงทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศไปทั่วโลกรวมทั้งความสมดุลในแง่อื่นด้วย 
          ดังนั้น  การฟื้นฟูสภาพป่าไม้จึงต้องดำเนินการเร่งด่วน  ทั้งภาครัฐภาคเอกชนและ   ประชาชน  ซึ่งมีแนวทางในการ
          กำหนดแนวนโยบายด้านการจัดการป่าไม้  ดังนี้
          1.  นโยบายด้านการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้
          2.  นโยบายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เกี่ยวกับงานป้องกันรักษาป่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสันทนาการ
          3.  นโยบายด้านการจัดการที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรผู้ยากไร้ในท้องถิ่น
          4.  นโยบายด้านการพัฒนาป่าไม้  เช่น  การทำไม้และการเก็บหาของป่า  การปลูก และการบำรุงป่าไม้  การค้นคว้าวิจัย
           และด้านการอุตสาหกรรม
          5.  นโยบายการบริหารทั่วไปจากนโยบายดังกล่าวข้างต้นเป็นแนวทางในการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรป่าไม้ของ
          ชาติให้ได้รับผลประโยชน์  ทั้งทางด้านการอนุรักษ์และด้านเศรษฐกิจอย่างผสมผสาน   ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลของ
          ธรรมชาติและมีทรัพยากรป่าไม้ไว้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

 
      การจัดการป่าเศรษฐกิจ
      
      มีกิจกรรมหลายอย่างที่จะดำเนินการในพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ  ได้แก่
      1.  การพัฒนาป่าธรรมชาติในพื้นที่ ๆ  ยังมีป่าธรรมชาติปกคลุมสามารถวางโครงการทำป่าไม้ต่าง ๆ  และป่าไม้ชุมชน
      เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมและการใช้สอยในครัวเรือนของราษฎรได้
      2.  การพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ ๆ  ว่างเปล่าสามารถพัฒนาโดยให้รัฐและเอกชนทำการปลูกป่าในพื้นที่ ๆ ว่างเปล่า 
      เพื่อผลิตไม้ในภาคอุตสาหกรรมและใช้สอยในครัวเรือน
      3.  การพัฒนาตามหลักศาสตร์ชุมชนใช้พื้นที่ป่าเศรษฐกิจในโครงการพระราชดำริโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงโครงการ
      หมู่บ้านป่าไม้และโครงการ  สกท.
      4.       การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ  ใช้พื้นที่เขตป่าเศรษฐกิจดำเนินงานในกิจกรรมเหมืองแร่ระเบิดหินย่อย และขอ
     ใช้ประโยชน์อื่น ๆ