วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมเพื่อสิ่งเเวดล้อม ปลูกป่าชายเลน


     สิ่งแวดล้อมในปัจจุบันถูกทำลายลงไปอย่างมาก  ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่างๆขึ้นมากมาย
ทำให้ผู้คนได้ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ



สิ่งที่กลุ่มของเราเลือกปฏิบัติคือ การปลูกป่าชายเลน  เพราะการปลูกป่าชายเลนเป็นการเพิ่มพูนทรัพยากรธรรมชาติที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง  และยังเป็นการอนุรักษ์ระบบนิเวศชายฝั่งทะเลอีกด้วย

      สถานที่ที่กลุ่มเราเลือกใช้ในการทำกิจกรรม ปลูกป่าชายเลนคือ วนอุทยานปราณบุรี
ซึ่งทางอุทยานได้มีการจัดเรือนำเที่ยว ให้ผู้ที่สนใจสามารถร่องเรือศึกษาป่าชายเลนโดย
มีคนในพื้นที่ค่อยให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว





     ในส่วนของกล้าพันธุ์ทางอุทยานมีการจัดเตรียมไว้ให้  ทำให้การไปปลูกป่าชายเลนในครั้งนี้สะดวกมากยิ่งขึ้น  เนื่องจากไม่ต้องขุดหลุมเอง




          จากการทำกิจกรรมปลูกป่าชายเลนในครั้งนี้  ทำให้กลุ่มของเราได้ทราบถึงปัญหาต่างๆ
ของป่าชายเลนไม่ว่าจะเป็นการปลุกรุกป่าชายเลน  เพื่อนำไม้ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ
ปัญหาขยะที่ลอยมาจากภายนอก ทำให้สภาพป่ามีความสกปรก ซึ่งภาพต่างๆที่เราได้พบเจอ
ย้ำเตือนให้เราตระหนักถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สิ่งต่างๆคงอยู่ตลอดไป

 



 


 

    

 



วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พลังงานชีวมวล

    ชีวมวล (Biomass)  คือ สารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติและสามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานได้ เช่น เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือกากจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น แกลบ ได้จากการสีข้าวเปลือกชานอ้อย ได้จากการผลิตน้ำตาลทรายเศษไม้ ได้จากการแปรรูปไม้ยางพาราหรือไม้ยูคาลิปตัสเป็นส่วนใหญ่ และบางส่วนได้จากสวนป่าที่ปลูกไว้กากปาล์ม ได้จากการสกัดน้ำมันปาล์มดิบออกจากผลปาล์มสดกากมันสำปะหลัง ได้จากการผลิตแป้งมันสำปะหลังซังข้าวโพด ได้จากการสีข้าวโพดเพื่อนำเมล็ดออกกาบและกะลามะพร้าว ได้จากการนำมะพร้าวมาปลอกเปลือกออกเพื่อนำเนื้อมะพร้าวไปผลิตกะทิ และน้ำมันมะพร้าวส่าเหล้า ได้จากการผลิตอัลกอฮอล์เป็นต้นชีวมวล สามารถเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานได้ เพราะในขั้นตอนของการเจริญเติบโตนั้น พืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำและเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์โดยผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสงได้ออกมา เป็นแป้งและน้ำตาล แล้วกักเก็บไว้ตามส่วนต่างๆ ของพืช ดังนั้นเมื่อนำพืชมาเป็นเชื้อเพลิงเราก็จะได้พลังงานออกมา การใช้ประโยชน์จากพลังงานชีวมวล สามารถใช้ได้ทั้งในรูปของพลังงานความร้อน ไอน้ำ หรือผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า โดยจะใช้เชื้อเพลิงชีวมวลชนิดใดชนิดหนึ่งที่กล่าวมาข้างต้น หรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ชีวมวลจึงเป็นแหล่งเชื้อเพลิงราคาถูก หากมีการใช้ประโยชน์ในบริเวณที่ไม่ไกลจากแหล่งเชื้อเพลิงมากนัก เพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง  ชีวมวล มีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย การนำชีวมวลมาใช้จึงช่วยลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าเชื้อเพลิงและสร้างรายได้ให้กับคนท้องถิ่น นอกจากนี้การผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวลด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและไม่สร้างสภาวะเรือนกระจก เนื่องจากการปลูกทดแทนทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดการหมุนเวียนและไม่มีการปลดปล่อยเพิ่มเติม เรายังมุ่งหวังว่าการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับชีวมวลจะสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งและ การมีส่วนร่วมของชุมชนได้อีกด้วย 

ชีวมวล
ที่มา  http://shopadmin.thaiepay.com/shopdetail/105/images


องค์ประกอบของชีวมวลองค์ประกอบของชีวมวลหรือสสารทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักคือ     ความชื้น (Moistureความชื้นหมายถึงปริมาณน้ำที่มีอยู่ ชีวมวลส่วนมากจะมีความชื้นค่อนข้างสูง เพราะเป็นผลผลิตทางการเกษตร ถ้าต้องการนำชีวมวลเป็นพลังงานโดยการเผาไหม้ ความชื้นไม่ควรเกิน 50 เปอร์เซ็นต์      ส่วนที่เผาไหม้ได้ (Combustible substance)ส่วนที่เผาไหม้ได้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ Volatiles matter และ Fixed Carbon Volatiles matter คือส่วนที่ลุกเผาไหม้ได้ง่าย ดังนั้นชีวมวลใดที่มีค่า Volatiles matter สูงแสดงว่าติดไฟได้ง่าย      ส่วนที่เผาไหม้ไม่ได้ คือขี้เถ้า (Ash)ชีวมวลส่วนใหญ่จะมีขี้เถ้าประมาณ 1 -3 เปอร์เซ็นต์ ยกเว้นแกลบและฟางข้าว จะมีสัดส่วนขี้เถ้าประมาณ 10 -20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะมีปัญหาในการเผาไหม้และกำจัดพอสมควร   


ที่มา http://www.thaigoodview.com/


         ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมีเศษวัสดุวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมากมายปีละหลายสิบล้านตัน ประกอบกับทางภาครัฐสนับสนุนและส่งเสริม จึงถูกนำมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าเพื่อจ่ายเข้าระบบ เช่นแกลบ เศษไม้ และชานอ้อย เป็นต้น แต่การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลมีอุปสรรคบางประการเช่น
-    ต้องมีปริมาณมากเพียงพอ ยกตัวอย่างเช่น กำลังการผลิตไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์ต้องใช้เชื้อเพลิงปีละ 10,000 -15,000 ตัน
-    ค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้ายิ่งใหญ่ยิ่งถูก กล่าวคือราคาโรงไฟฟ้า 10 เมะวัตต์ มีราคาแพงกว่าโรงไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์ เพียง 5 เท่าด้วยเทคโนโลยีเดียวกัน แต่มีกำลังการผลิตไฟฟ้ามากกว่า 10 เท่า ซึ่งทำให้ต้นทุนผลิตไฟฟ้าขนาด 10 เมะวัตต์ถูกกว่า 1 เมกะวัตต์
ดังนั้นการเริ่มทำธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวลประการแรกต้องหาเชื้อเพลิงก่อนว่าได้เท่าไร จากนั้นจึงมากำหนดขนาดกำลังการผลิต เทคโนโลยี และคำนวณต้นทุนดูว่าคุ้มกับเงินลงทุนหรือไม่

        อย่างไรก็ตามยังแต่มีชีวมวลอีกมากมายเช่น ขุยมะพร้าว เปลือกลำไย เปลือกถั่วต่างๆ ผลไม้ที่ไม่ได้คุณภาพ และเศษไม้ไผ่จากการผลิตข้าวหลาม เป็นต้นซึ่งมีปริมาณมากในสายตาของเจ้าของ แต่ไม่เพียงพอในการนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ดังนั้นต้องหาทางเลือกอื่นๆเช่น แปรรูปเป็นปุ๋ยหมัก  เหมาะสำหรับเศษวัดสุเหลือใช้ที่มีความชื้นค่อนข้างสูงและนิ่มเช่น ขุยมะพร้าว ผักตบชวา และเปลือกถั่ว โดยนำมาผ่านเครื่องย่อยและหมักตามสูตรการผลิตปุ๋ยหมักทั่วไป และถ้าต้องการนำมาใช้ในรูปของพลังงานมี 2 รูปแบบดังนี้

ที่มา  http://3.bp.blogspot.com/
 1. ผลิตเป็นถ่านไม้ เป็นวิธีการดั้งเดิมตั้งแต่บรรพบุรุษสมัยปู่ย่าตายาย ทุกครัวเรือนในชนบทรู้จักดี ถ่านมีประโยชน์มากมายเช่น เป็นพลังงานในครัวเรือน เป็นสารปรับปรุงดิน ดูดกลิ่นและผสมในอาหารสัตว์เล็กน้อยจะช่วยลดอาการท้องอึด เป็นต้น ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการเผาถ่านให้เลือกมากมายเช่น เตาอิวาเตะ เตาเผาถ่านใช้ถัง 200 ลิตร และเตารูปโดม ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.charcoal.snmcenter.com
ชีวมวลที่เหมาะสมในการนำมาผลิตถ่านควรมีขนาดใหญ่และความชื้นต่ำเช่นเศษไม้ต่างๆ ในบางกรณีอาจนำมาบดให้ละเอียดและอัดเป็นแท่ง สามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้นเช่น ถ่านอัดแท่งจากกะลามะพร้าว ซังข้าวโพดและขี้เลื่อย นอกจากนี้ถ้าแปรรูปให้เป็นถ่านดูดกลิ่น จะสามารถเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้นอีก โดยใช้ผลไม้ที่ไม่ได้ขนาด จะได้ถ่านมีรูปร่างตามผลไม้นั้นๆ วิธีการทำง่ายมากคือ ขุดดินเป็นหลุมขนาด 1 x 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร ใส่เชื้อเพลิงคือซังข้าวโพดที่ก้นหลุม ตามด้วยผลไม้สดผิวแข็งเช่นน้อยหน่า สับปะรด กล้วย มังคุด เป็นต้น ประมาณ 20 กิโลกรัม จากนั้นทำการจุดไฟ นำสังกะสีปิดบนเตาและนำเชื้อเพลิงกลบด้านบนอีกชั้นหนึ่ง ผลไม้จะถูกเผาอยู่ในหลุมและสุกเป็นถ่านใช้เวลาประมาณ 10 -15 ชั่วโมง เมื่อเผาเสร็จนำมาเรียงเพื่อลดความร้อน จะได้ผลไม้ดูดกลิ่นเหม็นและอับชื้น ใช้ในห้องนอน รถยนต์ รองเท้า และตู้เสื้อผ้าเป็นต้น เมื่อใช้แล้วประมาณ 1 เดือนนำมาตากแดดแล้วนำกลับมาใช้ได้อีก 


ถ่านไม้
ที่มา  http://image.made-in-china.com/
   

2. นำมาเผาในอุปกรณ์พิเศษเรียกว่า
แก็สซิไฟเออร์ (Gasifier) โดยใส่อากาศเพียงร้อยละ 20 -30 จะได้ก๊าซชีวมวล จากนั้นนำไปเป็นพลังงานทดแทนก๊าซหุงต้ม โดยใช้เตาก๊าซที่มีอยู่ แต่ต้องปรับปริมาณอากาศเข้าให้เหมาะสม หรือนำมาผลิตไฟฟ้าโดยเครื่องยนต์สันดาปภายในขนาดตั้งแต่ 1 -100 กิโลวัตต์ แต่ต้องติดตั้งอุปกรณ์กำจัดน้ำมันดินที่มาพร้อมกับก๊าซชีวมวล มิฉะนั้นจะทำให้เครื่องยนต์ชำรุดได้ อนึ่งชีวมวลที่เหมาะสมควรมีความชื้นไม่เกินร้อยละ 20 และมีขนาดใกล้เคียงกันเพื่อให้ได้ก๊าซชีวมวลที่มีคุณภาพ  
ข้อดีของการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเหล่านี้เป็นพลังงานคือ นอกจากลดภาระในการกำจัดแล้ว ยังช่วยลดสภาวะก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อนขึ้นอีกด้วย


ประเภทของชีวมวล

ฟางข้าวลักษณะทั่วไป ขนาดเล็กยาวแต่กลวง ได้มาหลังการเกี่ยวข้าว
แหล่ง ถ้าเกี่ยวข้าวด้วยแรงคน ฟางข้าวจะกองอยู่บริเวณลานตากข้าวตามหมู่บ้าน ถ้าเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องจักร ฟางข้าวจะถูกทิ้งไว้ในนาข้าว
การนำไปใช้งาน ฟางข้าวมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น เป็นอาหารสัตว์ คลุมดิน เพาะเห็ดฟาง ทำโครงพวงหรีดดอกไม้ และใช้ในอุตสาหกรรมทำกระดาษ เป็นต้น แต่ยังมีฟางข้าวอีกมากที่ไม่ได้นำไปใช้ คาดว่าประมาณ 1ใน 3 ของส่วนที่เหลือถูกเผาทิ้ง
จุดเด่น ยังมีฟางข้าวอีกมากที่ไม่ได้นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์
จุดด้อย รวบรวมได้ยากถ้าใช้แรงคน เพราะอยู่กระจัดกระจาย ต้อง ใช้เครื่องทุ่นแรง (Straw baler) มาช่วยในการรวบรวม



ฟางข้าว
ที่มา  http://3.bp.blogspot.com/

เศษไม้ยางพาราลักษณะทั่วไป ไม้ยางพาราเมื่อมีอายุถึง 20 -25 ปีจะถูกตัด เพื่อปลูกใหม่ ไม้ยางพาราที่ถูกตัดจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ รากหรือตอไม้ ปลายไม้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้วลงมา และไม้ท่อนมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้วขึ้นไป ไม้ท่อนจะถูกตัดให้ได้ความยาว1.05ม.เพื่อส่งโรงเลื่อย และโรงงานเฟอร์นิเจอร์ซึ่งจะได้เศษไม้หลายแบบคือ ปีกไม้ ตาไม้(ส่วนที่มีตำหนิ) ขี้เลื่อย และขี้กบ
แหล่ง ปีกไม้และขี้เลื่อย จะหาได้จากโรงเลื่อยไม้ยางพารา ตาไม้และขี้กบ จะหาได้จากโรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ปลายไม้และรากไม้ จะหาได้จากสวนยางพารา
การนำไปใช้งาน ในส่วนของขี้เลื่อยจะนำไปเพาะเห็ด ทำธูป ใช้คลุมเผาถ่าน เศษไม้อื่นๆจะนำไปเป็นเชื้อเพลิง สำหรับโรงบ่มยางพารา เผาถ่าน ใช้ในขบวนการผลิต ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับ ไม้อัดยางพารา (Plywood) Medium density board และ Chip board นอกจาก นี้ยังนำไปใช้ในงานก่อสร้าง เช่นเสาเข็ม ใช้ทำเป็นพาเล็ท ลังไม้ เป็นต้น
จุดเด่น ยังมีเศษไม้ยางพาราคือ รากไม้ และกิ่งไม้ เหลืออีกมากที่ยังไม่ได้นำไปใช้งาน
จุดด้อย มีขนาดใหญ่ และถ้าเป็นเศษไม้สดจะมีความชื้นค่อนข้างสูง ประมาณ 50 % ประสิทธิภาพในการเผาไหม้จึงไม่ค่อยสมบูรณ์ ดังนั้นอาจจะต้องเพิ่มขบวนการย่อยและลดความชื้นก่อนนำไปเผา



ที่มา  http://webhost.wu.ac.th/
  กากอ้อยลักษณะทั่วไป มีลักษณะเป็นขุย ได้จากการผลิตน้ำตาลดิบ โดยนำอ้อยมาคั้นน้ำออก ส่วนที่เป็นน้ำนำไปผลิตเป็นน้ำตาลดิบ ส่วนที่เหลือคือกากอ้อย
แหล่ง โรงงงานน้ำตาล ซึ่งมีอยู่ประมาณ 46 โรง

การนำไปใช้งาน ส่วนใหญ่ใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิต น้ำตาลดิบประมาณ 80 % ส่วนที่เหลืออีก 20 % นำไปเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตกระดาษ และ MDF Board
จุดเด่น ยังมีกากอ้อยเหลืออีกส่วนหนึ่งที่ยังไม่ได้นำไปใช้งาน
จุดด้อย น้ำหนักเบา และความชื้นสูง


กากอ้อย
ที่มา  http://www.thaisugarmill.com/


ใบอ้อยและยอดอ้อยลักษณะทั่วไป มีลักษณะเรียวยาว จะถูกตัดออกจากลำต้นอ้อยก่อนส่งไปโรงงาน ช่วงเดือนธันวาคมถึงเมษายน ดังนั้นใบอ้อยและยอดอ้อยจะกระจายไปทั่วไร่อ้อย แต่บางครั้งชาวไร่อ้อยจะใช้วิธีการเผาแทนการตัด ซึ่งจะทำให้ไม่มีใบอ้อยและยอดอ้อยหลงเหลืออยู่
แหล่ง ตามไร่อ้อยทั่วไป
การนำไปใช้งาน ยอดอ้อยสามารถนำมาเป็นอาหารสัตว์
จุดเด่น ใบอ้อยและยอดอ้อยส่วนใหญ่จะถูกเผาทิ้งในไร่ ยังไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์
จุดด้อย มีเฉพาะเดือนธันวาคมถึงเมษายนของทุกปี และการรวบรวมเก็บ ค่อนข้างใช้แรงงานมาก จำเป็นต้องหาเครื่องทุ่นแรงมาช่วย



ใบอ้อย
ที่มา http://www.pandintong.com/


เหง้ามันสำปะหลังลักษณะทั่วไป เหง้ามันเป็นส่วนที่ถูกตัดออกจากหัวมัน ด้านบนมีลักษณะเป็นลำต้นค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 15 มม. ยาวประมาณ 30 ซม. ส่วนอีกด้านหนึ่งมีรูปร่างไม่แน่นอน
แหล่ง ตามไร่มันสำปะหลัง
การนำไปใช้งาน ปัจจุบันยังไม่ค่อยนำไปใช้งาน จึงมักถูกเผาทิ้งตามไร่
จุดเด่น เนื่องจากส่วนมากยังไม่ได้นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ จึงไม่มีคู่แข่งในการจัดหา
จุดด้อย ความชื้นโดยเฉลี่ย 60 % และมีขนาดรูปทรงไม่แน่นอน จึงต้องมีขบวนการทำให้เล็กลง ก่อนนำไปเป็นเชื้อเพลิง



มันสำปะหลัง
ที่มา http://www.khorat.doae.go.th/
  เปลือกและกากมันสำปะหลังลักษณะทั่วไป เปลือกมีลักษณะเป็นขุย สีน้ำตาล ความชื้น 50 % กากมันมีลักษณะละเอียด สีขาว ความชื้นสูงประมาณ 80 %
แหล่ง เป็นเศษที่เหลือจากการผลิตแป้งมันสำปะหลัง
การนำไปใช้งาน กากมันนำไปใช้ผสมอาหารสัตว์ในมันเส้น เปลือกมันทำปุ๋ย
จุดเด่น เนื่องจากเปลือกมันส่วนยังมีส่วนหนึ่งที่ขายไม่ได้ ทางโรงงานต้องนำไปฝังกลบ เพราะยังไม่ได้ศึกษานำไปใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างอื่น
จุดด้อย เปลือกมันมีค่าความร้อนค่อนข้างต่ำ



กากมันสำปะหลัง
ที่มา  http://village.haii.or.th/vtl//images/stories//vtl/a6/b2.jpg


กากปาล์มลักษณะทั่วไป กากปาล์มเป็นเศษเหลือจากการ สกัดน้ำมันปาล์มดิบจากทะลายปาล์มสด มี 3 แบบคือ ไฟเบอร์มีลักษณะเป็นขุย กะลามีลักษณะเป็นคล้ายกะลามะพร้าวแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก โตประมาณ 1-2 ซม. และทะลายปาล์มเปล่า
แหล่ง จะได้จากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบมาตรฐาน อย่างไรก็ตามยังโรงงานสกัดอีกประเภทหนึ่งคือ นำเฉพาะผลปาล์มสดไม่รวมทะลายมาสกัด เศษที่ได้จะนำมาเป็นอาหารสัตว์
การนำไปใช้งาน ไฟเบอร์นำมาเป็นเชื้อเพลิง ในขบวนการผลิตน้ำมันปาล์มดิบ จึงมีเหลือไม่มาก ส่วนทะลายเปล่านำไปเพาะเห็ด
จุดเด่น กะลาปาล์มมีค่าความร้อนสูงสุด เหมาะนำมาเป็นเชื้อเพลิง แต่ต้องระวังเศษ น้ำมันที่ตกค้างอยู่ ส่วนทะลายปาล์มเปล่ามีเหลืออีกมากที่ยังไม่ได้นำมาใช้ และถ้านำมาเผา จะได้ขี้เถ้าที่มีแร่ธาตุโปตัสเซียมสูงมาก
จุดด้อย การที่จะนำทะลายปาล์มเปล่ามา เป็นเชื้อเพลิง ต้องนำมาผ่านขบวนการย่อย หรือตัดก่อน เพราะมีขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีสารประกอบอัลคาไลน์สูง จะทำให้ท่อน้ำในหม้อน้ำมียางเหนียวเกาะติดได้ง่าย



กากปาล์ม
ที่มา  http://www.jfkfeed.com/


ใบปาล์มและต้นปาล์ม
ลักษณะทั่วไป ใบปาล์มหรือทางปาล์มจะถูกตัดออกเพื่อนำทะลาย ปาล์มสดลงจากลำต้น มีขนาดยาวประมาณ 2-3 เมตร ส่วนลำต้นจะถูกโค่นเมื่อมีอายุ 20-25 ปี หรือเมื่อไม่สามารถให้ผลผลิตได้ดี
แหล่ง จากสวนปาล์ม
การนำไปใช้งาน ทางปาล์มใช้คลุมดิน ส่วนลำต้นเริ่มทยอยตัดในพื้นที่บางแห่ง
จุดเด่น ยังไม่มีการศึกษานำไปใช้ประโยชน์เป็นอย่างอื่น
จุดด้อย ทางปาล์มมีความชื้นสูงถึง 80 % และขนาดใหญ่


ใบปาล์ม
ที่มา  http://it.doa.go.th/palm/


ซังข้าวโพด และ ลำต้น
ลักษณะทั่วไป ซังข้าวโพดได้จากการสีข้าวโพดเพื่อนำ เมล็ดมาใช้งาน ส่วนใหญ่เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในส่วนของลำต้นจะถูกตัดหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว
แหล่ง ปัจจุบันการสีข้าวโพดจะใช้เครื่องจักรที่สามารถ เคลื่อนที่ไปตามไร่ข้าวโพด ดังนั้นจะสามารถหาซังข้าวโพดและต้นข้าวโพด ได้ตามไร ่ข้าวโพดทั่วไป
การนำไปใช้งาน ซังข้าวโพดมีประโยชน์หลายอย่าง นำไปเป็นวัตถุดิบผลิตอัลกอฮอล์ เป็นเชื้อเพลิง ผสมกับโมลาสเพื่อเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ส่วนลำต้น นำไปเลี้ยงสัตว์ได้เช่นกัน
จุดเด่น ซังข้าวโพดมีค่าความร้อนสูง เมื่อเทียบกับชีวมวลอื่นๆ ส่วนลำต้นข้าวโพดมีส่วนหนึ่งที่ไม่ได้นำไปใช้งาน ชาวไร่ข้าวโพดจะไถฝังกลบในไร่
จุดด้อย ซังข้าวโพดมีการนำไปใช้ประโยชน์หลายอย่าง ดังนั้นต้องพิจารณาถึงแหล่งที่มีการนำไปใช้งานน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้มีการแก่งแย่งกันซื้อ ส่วนลำต้น ข้าวโพดจะเก็บรวบรวมลำบาก ต้องใช้แรงคนมาก




ข้าวโพด
ที่มา  http://www.rakbankerd.com/kaset/Plant/41_2.jpg
 


ขอบคุณข้อมูลจาก   มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม (มพส.)
                           http://efe.or.th/home.php





วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ฝายชะลอน้ำ (Check Dam)


ฝายชะลอน้ำ (Check Dam) โดยใช้แนวพระราชดำริทฤษฎีการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้

       

ที่มา http://www.mylifewithhismajestytheking.com/

           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความสำคัญของการอยู่รอดของป่าไม้เป็นอย่างยิ่ง  ทรงเสนออุปกรณ์อันเป็นเครื่องมือที่จะใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ที่ได้ผลดียิ่งกล่าวคือ ปัญหาสำคัญที่เป็นตัวแปรแห่งความอยู่รอดของป่าไม้นั้น  น้ำ คือสิ่งที่ขาดไม่ได้โดยแท้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะนำให้ใช้ฝายกั้นน้ำหรือเรียกว่า Check Dam หรืออาจเรียกขานกันว่า  ฝายชะลอความชุ่มชื้น ก็ได้เช่นกัน
            Check Dam คือสิ่งที่ก่อสร้างขวางกั้นทางเดินของลำน้ำ ซึ่งปกติมักจะกั้นห้วยลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป้นต้นน้ำหรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ทำให้พืชสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลงและกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลดทลงไปในบริเวณลุ่มน้ำตอนล่าง นับเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีมากวีธีการหนึ่ง
         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชาธิบายว่า การปลูกป่าทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลายนั้น  จะต้องสร้างฝายเล็กเพื่อหนุนน้ำส่งไปตามเหมืองไปใช้ในพื้นที่เพาะปลูกทั้งสองด้าน ซึ่งจะให้น้ำค่อย ๆ แผ่ขยายออกไปทำความชุ่มชื้นในบริเวณนั้นด้วย


ทีมา http://mblog.manager.co.th/
         ในส่วนของรูปแบบและลักษณะ Check Dam นั้น ได้พระราชทานพระราชดำรัสไว้ว่า ??ให้พิจารณาดำเนินการสร้างฝายราคาประหยัด โดยใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่น แบบทิ้งหินคลุมด้วยตาข่ายปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารเล็ก ๆ เป็นระยะ ๆ เพื่อให้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่กักเก็บไว้จะซึมเข้าไปในดินทำให้ความชุ่มชี้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้าง ต่อไปจะสามารถปลูกพันธุ์ไม้ป้องกันไฟ พันธุ์ไม้โตเร็ว และพันธุ์ไม้ไม่ทิ้งใบ เพื่อฟื้นฟูที่ต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มขึ้นเป็นลำดับ

      ประเภทของ Check Dam นั้น ทรงแนกออกเป็น 2 ประเภท ดังพระราชดำรัสคือ  Check Dam มี 2 อย่าง ชนิดหนึ่งสำหรับให้มีความชุ่มชื้น รักษาความชุ่มชื้น อีกอย่างสำหรับป้องกันมิให้ทรายลงในอ่างใหญ่

      จึงอาจกล่าวได้ว่า Check Dam นั้น ประเภทแรก คือ ฝายต้นน้ำลำธารหรือฝายชะลอความชุ่มชื้น ส่วนประเภทที่สองนั้นเป็นฝายดักตะกอนนั่นเอง

ฝายดักตะกอน
ที่มา http://www.phrae.go.th/checkdam/images/chackdam2_2.jpg


ฝายต้นน้ำลำธาร
ที่มา http://www.siamvolunteer.com/

การสร้าง Check Dam พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมในรายละเอียดว่า

         สำหรับ Check Dam ชนิดป้องกันไม่ให้ทรายไหลลงไปในอ่างใหญ่จะต้องทำให้ดีและลึกเพราะทรายลงมากจะกักเก็บไว้ ถ้าน้ำตื้นทรายจะข้ามไปลงอ่างใหญ่ ถ้าเป็น Check Dam สำหรับรักษาความชุ่มชื้นไม่จำเป็นต้องขุดลึกเพียงแต่กักน้ำให้ลงไปในดิน แต่แบบกักทรายนี้จะต้องทำให้ลึกและออกแบบอย่างไรไม่ให้น้ำลงมาแล้วไล่ทรายออกไป


ฝายดักตะกอน
ที่มา  http://www.phrae.go.th/checkdam/checkdam06.html

      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพิจารณาสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นขึ้น เพื่อสร้างระบบวงจรน้ำแก่ป่าไม้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ
             ให้ดำเนินการสำรวจทำเลสร้างฝายต้นน้ำลำธารในระดับที่สูงที่ใกล้บริเวณยอดเขามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลักษณะของฝายดังกล่าวจำเป็นจะต้องออกแบบใหม่ เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ปริมาณมากพอสมควรเป็นเวลานาน 2 เดือน ... การเก็บรักษาน้ำสำรองได้นานหลังจากฤดูฝนผ่านไปแล้ว จะทำให้มีปริมาณน้ำหล่อเลี้ยงและประคับประคองกล้าไม้พันธุ์ที่แข็งแรงและโตเร็วที่ใช้ปลูกแซมในป่าแห้งแล้งอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยการจ่ายน้ำออกไปรอบ ๆ ตัวฝายจนสามารถตั้งตัวได้


ฝายต้นน้ำลำธาร
ที่มา http://www.phrae.go.th/checkdam/checkdam06.html

  Check Dam ตามแนวพระราชดำริ กระทำได้ 3 รูปแบบ คือ
            1. Check Dam แบบท้องถิ่นเบื้องต้น เป็นการก่อสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น กิ่งไม้และท่อนไม้ล้ม ขอนนอนไพร ขนาบด้วยก้อนหินขนาดต่าง ๆ ในลำห้วย ซึ่งเป็นการก่อสร้างแบบง่าย ก่อสร้างในบริเวณตอนบนของลำห้วยหรือร่องน้ำ ซึ่งสามารถดักตะกอนชะลอการไหลของน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณรอบฝายได้เป็นอย่างดี วิธีการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก หรืออาจไม่มีค่าใช้จ่ายเลยนอกจากใช้แรงงานเท่านั้น
            การก่อสร้าง Check Dam แบบง่ายนี้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น
            1.1 ก่อสร้างด้วยท่อนไม้ขนาบด้วยหิน
            1.2 ก่อสร้างด้วยไม้ขบานด้วยถุงบรรจุดินหรือทราย
            1.3 ก่อสร้างแบบคอกหมูแกนดินอัดขบานด้วยหิน
            1.4 ก่อสร้างแบบเรียงด้วยหินแบบง่าย
            1.5 ก่อสร้างแบบคอกหมูหินทิ้ง
            1.6 ก่อสร้างแบบคอกหมูถุงทรายซีเมนต์
            1.7 ก่อสร้างแบบหลักคอนกรีตหินทิ้ง
            1.8 ก่อสร้างแบบถุงทรายซีเมนต์
            1.9 ก่อสร้างแบบคันดิน
            1.10 ก่อสร้างแบบหลักไม้ไผ่สานขัดกัน อันเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน


ที่มา http://cdn.gotoknow.org/
           

          2. Check Dam แบบเรียงด้วยหินค่อนข้างถาวร ก่อสร้างด้วยการเรียงหินเป็นผนังกั้นน้ำก่อสร้างบริเวณตอนกลางและตอนล่างของลำห้วยหรือร่องน้ำ จะสามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดีบางส่วน
           

ที่มา http://www.phrae.go.th/checkdam/checkdam06.html

          3. Check Dam แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นการก่อสร้างแบบถาวร ส่วนมากจะดำเนินการในบริเวณตอนปลายของลำห้วยหรือร่องน้ำ จะสามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดี ค่าก่อสร้างเฉลี่ยประมาณ 40,000-50,000 บาท แล้วแต่ขนาดของลำห้วยซึ่งควรมีความกว้างไม่เกิน 4 เมตร


ที่มา http://www.rid.go.th/royalproject/_data/user/rid01/_copy.jpg
             ข้อคำนึงในการสร้าง Check Dam
            1. ควรสำรวจสภาพพื้นที่ วัสดุก่อสร้างตามธรรมชาติ และรูปแบบ Check Dam ที่เหมาะสมกับภูมิประเทศมากที่สุด
            2. ต้องคำนึงถึงความแข็งแรงให้มากพอที่จะไม่เกิดการพังทลายเสียหายยามที่ในตกหนักและกระแสน้ำไหลแรง
            3. ควรก่อสร้างในพื้นที่ที่ช่องลำห้วยมีความลาดชันต่ำ เพื่อที่จะได้ Check Dam ในขนาดที่ไม่เล็กเกินไป อีกทั้งยังสามารถกักน้ำและตะกอนได้มากพอสมควร และในลำห้วยที่มีความลาดชันสูงก็ควรสร้าง Check Dam ให้ถี่ขึ้น
            4. วัสดุก่อสร้าง Check Dam ประเภทกิ่งไม้ ท่อนไม้ ที่นำมาใช้ในการสร้างจะต้องนะมัดระวังใช้เฉพาะไม้ล้มขอนนอนไพรเป็นลำดับแรกก่อนที่จะใช้กิ่งไม้ ท่อนไม้จากการริดกิ่ง ถ้าจำเป็นให้ใช้น้อยที่สุด
            5. ถ้าสร้าง Check Dam แบบคอกหมูแกนดินอัดแน่น ควรมีทางระบายน้ำด้านข้างเพื่อป้องกันน้ำกัดชะสันฝายจากการที่มีฝนตกหนักจนมีน้ำหลากมาก
            6. ควรปลูกไม้ยืนต้นยึดดินบนสันฝาย เช่น ไคร้น้ำ หรือไม้ชนิดอื่น ๆ ที่สามารถขึ้นได้ดีบนที่ชื้น
            7. ควรดำเนินการก่อสร้าง Check Dam หลังฤดูฝนหรือหลังน้ำหลาก และทุกปีควรมีการบำรุงรักษา ขุดลอกตะกอน ซ่อมแซมสันฝายและทางระบายน้ำล้นอยู่เป็นประจำ
           

แนวทางที่เหมาะสมในการสร้าง Check Dam
            ก่อนดำเนินการ ควรสำรวจร่องน้ำลำห้วยในพื้นที่ที่มีปัญหาการพังทลายของดินหรือปัญหาพื้นที่ขาดความ   ชุ่มชื้น โดยพิจารณาถึงความลาดชันของร่องน้ำและสำรวจหาข้อมูลปริมาณน้ำไหลในร่องน้ำมาใช้ประกอบการเลือกตำแหน่งสร้าง Check Dam ดังนี้
            1. ในพื้นที่ลาดชันสูง ในกรณีที่ความกว้างของลำห้วยไม่เกิน 2 เมตร ควรสร้างฝายผสม ใช้วัสดุธรรมชาติ ไม้ท่อน หิน ถุงบรรจุดินหรือทราย แต่ถ้าความกว้างของลำห้วยมากกว่า 2 เมตร หรือในลำห้วยมีน้ำมากควรเพิ่มโครงสร้างของ Check Dam เป็นแบบคอกหมูที่มีโครงสร้างหลายระดับมากน้อยตามปริมาณน้ำ
            2. ในพื้นที่ลาดชันปานกลาง ควรสร้าง Check Dam แบบคอกหมูหรือแบบท้องถิ่นของชาวบ้าน ถ้าเป็นแบบคอกหมูให้ใช้หินเรียงหรือกระสอบทรายผสมซีเมนต์ขนาบโครงสร้าง
            3. ในพื้นที่ลาดชันต่ำ ในกรณีที่มีน้ำมากควรสร้างฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่ถ้ามีน้ำไม่มากนักและความกว้างไม่เกิน 2 เมตร อาจใช้ถุงทรายผสมซีเมนต์ได้
          

 นานาประโยชน์จาก Check Dam อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
            1. ช่วยลดการพัลทะลายของดินและลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย ทำให้ระยะเวลาการไหลของน้ำเพิ่มมากขึ้น ความชุ่มชื้นมีมากขึ้น และแผ่ขยายกระจายความชุ่มชื้นออกไปเป็นวงกว้างในพื้นที่ทั้งสองฝั่งของลำห้วย
            2. ช่วยกักเก็บตะกอนที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วยได้ดี เป็นการช่วยยืดอายุแหล่งน้ำตอนล่างให้ตื้นเขินช้าลง คุณภาพของน้ำมีตะกอนปะปนน้อยลง
            3. เพิ่มความหลาดหลายทางชีวภาพให้แก่พื้นที่ จากการที่ความชุ่มชื้นเพิ่มมากขึ้น ความหนาแน่นของพันธุ์พืชก็ย่อมจะมีมากขึ้น
            4. การที่สามารถกักเก็บน้ำไว่ได้บางส่วนนี้ ทำให้กิดเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการบริโภคของมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ ตลอดจนนำไปใช้ในการเกษตรได้อีกด้วย
          

        Check Dam  จึงนับเป็นพระราชดำริที่เป็นทฤษฎีการพัฒนาป่าไม้ที่ยังประโยชน์สุขแก่มนุษยชาติทั้งมวล  ปัจจุบัน ทางกลุ่มป่าสร้างฝัน เขาใหญ่ นครนายก ได้นำแนวคิด ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องฝายชะลอน้ำ มาจัดทำโครงการฝายชะลอน้ำ ใน 2 พื้นที่ ต้นน้ำรอบๆ เขื่อนขุนด่านปราการชล ใน ตำบลหินตั้ง และ ตำบลสาริกา อ. เมือง จ. นครนายก  คือ ต้นน้ำลำธารสายคลองบ่อ จำนวนโครงการ 5  ฝาย  แล้วเสร็จ 2 ฝาย  และ ต้นน้ำลำธารสายคลองมะเดื่อ  จำนวนโครงการ 5 ฝาย แล้วเสร็จ 2 ฝาย และจะดำเนินการต่อไปเรื่อยๆ เพื่อรักษาความชุ่มชื่นของผืนป่าเขาใหญ่ ฝั่งนครนายก ให้คงอยู่ต่อไป



ข้อมูลจาก  กลุ่มป่าสร้างฝัน เขาใหญ่ นครนายก
                  http://www.khaoyai.info/
                  http://www.phrae.go.th/checkdam/checkdam06.html

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ขยะมูลฝอย

ขยะมูลฝอย

ความหมายของขยะมูลฝอย
          ขยะ หรือ ขยะมูลฝอย มีความหมายเหมือนกันคือ เศษสิ่งของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตและการใช้สอยของมนุษย์ อาจมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามแหล่งที่ก่อให้เกิดขยะเหล่านั้นๆ



ขยะมีกี่ประเภท
     สามารถแบ่งประเภทขยะตามลักษณะของส่วนประกอบของขยะมูลฝอย ที่มีประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. กระดาษ ถุงกระดาษ กล่อง ลัง เศษกระดาษจากสำนักงาน2. พลาสติก มีความทนทานต่อการทำลายได้สูง วัสดุ หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก เช่น ถุงภาชนะ ของเด็กเล่น ของใช้
3. แก้ว วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแก้ว เช่น ขวด หลอดไฟ เศษกระจก ฯลฯ
4. เศษอาหาร ผัก ผลไม้ ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์ ย่อยสลายได้ง่าย เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้ขยะเกิดกลิ่นเหม็น ส่งกลิ่นรบกวนหากไม่มีการเก็บขนออกจากแหล่งทิ้งทุกวัน
5. ผ้าสิ่งทอต่าง ๆ ที่ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติ และใยสังเคราะห์ เช่น ผ้าไนล่อน ขนสัตว์ ลินิน ฝ้าย
6. ยางและหนัง เช่น รองเท้า กระเป๋า ลูกบอล
7. ไม้ เศษเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ
8. หิน กระเบื้อง กระดูก และเปลือกหอย พวกนี้ไม่เน่าเปื่อย พบมากในแหล่งก่อสร้างตึกที่ทุบทิ้ง
9. โลหะต่าง ๆ เช่น กระป๋อง ลวด สายไฟ ตะปู
10. อื่น ๆ ที่ไม่อาจจัดกลุ่มได้



ที่มา http://blog.lib.umn.edu/stau0156/architecture/garbage%20can.jpg

ขยะมาจากไหน
       ขยะมูลฝอยเกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ทั้งจากการกระบวนการผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม และการใช้สอยในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันออกๆไป ตามแหล่งกำเนิด

ขยะจากอาคาร บ้านเรือน  ที่พักอาศัย ขยะประเภทนี้จัดอยู่ในขยะทั่วไป ขยะพวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเศษอาหาร เศษกระดาษ เศษแก้ว เศษโลหะ เศษไม้ และพลาสติก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีขยะที่เป็นอันตรายอีก เช่น ซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่เก่า ซากถ่านไฟฉาย กระป๋องสารเคมีที่ใช้ภายในบ้าน เป็นต้น

ขยะจากกิจกรรมภาคอุตสาหกรรม จะมีทั้งขยะที่เป็นอันตราย เช่น กากสารเคมีมีพิษและสารประกอบที่มีโลหะหนักต่างๆ และมูลฝอยที่ไม่เป็นอันตรายซึ่งได้มาจากส่วนสำนักงาน และโรงอาหารของโรงงาน เป็นต้น

ขยะที่เกิดจากกิจกรรมภาคเกษตรกรรม ได้แก่ เศษภาชนะที่ใช้บรรจุสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เศษซากพืช ซากสัตว์ มูลสัตว์ เป็นต้น ขยะเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการเก็บรวบรวมบำบัด หรือกำจัดอย่างถูกต้อง และเป็นระบบครบวงจร เพื่อจะได้ไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมต่อไป
         นอกจากนี้ ยังมีแหล่งขยะที่นอกเหนือจากที่กล่าวไปแล้วข้างต้นอีก ซึ่งเป็นแหล่งที่มีความสำคัญมากเช่นกันหากไม่ได้รับการจัดการที่ดีจะทำให้เกิดปัญหาและเป็นอันตรายได้ นั่นคือ ขยะจากโรงพยาบาลและสถานที่ศึกษาวิจัย ขยะจากสถานประกอบการในเมือง


ที่มา http://www.adeq.or.th/UserFiles/garb01.jpg
 ปัญหาขยะมูลฝอย

สถานการณ์ขยะมูลฝอย          ในปี พ.ศ. 2548 มีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ 14.3 ล้านตัน หรือ 39,221 ตันต่อวัน (ยังไม่รวมข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยก่อนนำมาทิ้งในถัง) ซึ่งลดลงจากปี 2547 ประมาณ 0.3 ล้านตัน เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครมีปริมาณขยะมูลฝอยที่เก็บขนได้วันละ 8,291 ตัน ในขณะที่ปริมาณขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลและเมืองพัทยาเกิดขึ้นประมาณวันละ 12,635 ตัน และนอกเขตเทศบาลซึ่งครอบคลุมพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล ทั้งหมดเกิดขึ้นประมาณวันละ 18,295 ตัน
สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอย

1. ขาดจิตสำนึกและมีความมักง่ายในการทิ้งขยะโดยไม่ได้คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น
2. การผลิตหรือใช้สิ่งของมากเกินความจำเป็น เช่น การผลิตสินค้าที่มีกระดาษหรือพลาสติกห่อหุ้มหลายชั้น การซื้อสินค้าโดยห่อแยกหรือใส่ถุงพลาสติกหลายถุง
3. การเก็บและทำลายหรือนำขยะไปใช้ประโยชน์อย่างไม่มีประสิทธิภาพ จึงทำให้มีขยะตกค้าง



อินโดนีเซีย" แม่น้ำทั้งสายเต็มไปด้วยขยะมูลฝอยทุกประเภท
ที่มา http://farm4.static.flickr.com/3553/3525212037_16a17e82ea_o.jpg

ผลกระทบจากปัญหาขยะมูลฝอย1. ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะ (Pollution) ได้แก่ มลภาวะทางน้ำ มลภาวะทางอากาศ และมลภาวะทางดิน
2. ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งสุขภาพทางกาย และสุขภาพทางใจ
3. ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การจัดการขยะทำให้เกิดค่าใช้จ่าย ตั้งแต่การเก็บรวบรวม การเก็บขน การแปรสภาพ การกำจัดหรือการทำลาย นอกจากนั้นยังต้องจัดหาซื้อที่ดินเพื่อการฝังกลบและการติดตั้งเครื่องเผาขยะซึ่งมีราคาแพง ยิ่งมีขยะมากก็ยิ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ทางเศรษฐกิจมาก  
4. ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น มีผลต่ออุณหภูมิของโลกที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการกำจัดขยะโดยการฝังกลบ จะเกิดการหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจนทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทน อีกทั้งขยะติดเชื้อและขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ จำเป็นต้องกำจัดด้วยการเผาทำลาย ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นและก่อให้เกิดก๊าซต่างๆ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ซึ่งก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน


ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=224641
 การแก้ปัญหา
นโยบายการจัดการขยะในประเทศไทย
1. ควบคุมปริมาณและอัตราการเกิดขยะมูลฝอยของประชากร
2. ให้มีการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล ตั้งแต่การเก็บกัก การเก็บขน การขนส่งและการกำจัด และสนับสนุนให้จังหวัดมีศูนย์รวมกำจัดขยะจากชุมชน
3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนร่วมลงทุน ก่อสร้าง บริหารและดำเนินระบบจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรเอกชน และประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหามูลฝอยและสิ่งปฏิกูลเพิ่มขึ้น เพราะเป็นกลไกที่มีความสำคัญในการจัดการขยะ
5. ส่งเสริมให้ใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์  เช่นการเรียกเก็บค่าทำเนียมจากผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีซากของเสียอันตรายและธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ใช้บรรจุภัณฑ์ฟุ่มเฟือยหรือกำจัดยาก 
6. ใช้มาตรการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย เพื่อจูงใจให้มีการลดปริมาณขยะ และส่งเสริมการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
7. พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการจัดการขยะและส่งเสริมการผลิตที่สะอาด (Clean technology) ในภาคการผลิต
8. ส่งเสริมให้มีการสอน และฝึกอบรมในเรื่องวินัยการจัดการขยะ การคัดแยกขยะ และการกำจัดของเสียที่ถูกวิธีให้แก่ชุมชน ภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม


การจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง
        หลักง่ายๆ ในการลดปริมาณขยะก็คือ หลัก1A3R ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการจัดการกับขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางก่อนที่จะมีขยะเกิดขึ้น หรือทำอย่างไรจะให้สิ่งของที่เราใช้แล้วเกิดเป็นขยะน้อยที่สุด ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนตั้งแต่การงด-เลิก ลด ใช้ซ้ำ และหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ ดังนั้น 1A3R จึงเป็นหลักแก้ปัญหาที่ทุกคนสามารถเลือกที่จะทำข้อใดข้อหนึ่งได้เลย โดยเริ่มจาก

ที่มา http://www.npc-se.co.th/backoffice/stock_photo/A_316.jpg
 Avoid หรือ งด-เลิก เป็นการงดหรือเลิกการบริโภคที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคโดยตรง การบริโภคที่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น และต่อระบบนิเวศ โดยจะต้องงด-เลิก 
- ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้งเลย เช่น
- ใบมีดโกนหนวดชนิดที่ใช้แล้วทิ้งเลย
-  ตะเกียบไม้ ช้อนพลาสติก
- โฟมสำหรับบรรจุอาหาร
- ถุงพลาสติกบรรจุอาหาร  
- ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ เช่น
- สารกำจัดแมลงทุกชนิด
- ยาฆ่าหญ้าสารเคมีผสมในผลิตภัณฑ์
- สีผสมอาหาร สารกันบูด
- เครื่องสำอาง
- น้ำยาทำความสะอาด
- ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ เช่น
- สเปรย์ทุกชนิดที่ใช้ CFC ช่วยเพิ่มแรงอัด
- น้ำยาดับเพลิง
- น้ำยาทำความสะอาดอุปกรณ์ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
- ปุ๋ยเคมี
- ยาฆ่าแมลงและปราบศัตรูพืช 
- ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์ป่า หรือชิ้นส่วนของสัตว์ทุกชนิด เช่น
- กำไร ต่างหู หมวก กระเป๋า ที่ทำจากชิ้นส่วนของสัตว์ป่าทุกชนิด
- เครื่องประดับบ้าน ปะการัง
- เครื่องราง
- กิจกรรมที่ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตมนุษย์และสภาพแวดล้อม เช่น
- การถ่ายเทของเสียลงสู่ที่รองรับตามธรรมชาติได้แก่ แหล่งน้ำ อากาศ ดิน ซึ่งจะสามารถบำบัดและกำจัดได้ยาก


Reduce หรือ ลด
หากไม่สามารถเลิกการใช้หรือการบริโภคของบางอย่างได้เสียทีเดียว ก็พยายามลดใช้ให้น้อยลง ลดการบริโภคที่จะให้เกิดการร่อยหรอของทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป  รวมทั้งทรัพยากรที่ทดแทนใหม่ได้บางชนิดก็ต้องลดการใช้ เนื่องจากทำให้เกิดการเสียสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งจะต้องหาทางลดปริมาณการบริโภค และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรเหล่านี้
1. ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป เช่น
- พลังงาน จากปิโตเลียมและถ่านหิน
- แร่ธาตุโลหะทุกชนิด
2. ทรัพยากรที่ทดแทนใหม่ได้ ซึ่งปัจจุบันมีการนำออกมาใช้อย่างรวดเร็ว และมากเกินกว่าที่ธรรมชาติจะทดแทนใหม่ได้ทัน จึงควรลดการใช้ลงเช่น ไม้ พืชพันธ์ สัตว์ ชิ้นส่วนของสัตว์ทุกชนิด
3. ผลิตภัณฑ์ที่เมื่อนำมาใช้ จะทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศ  ยากต่อการทำลาย มีการใช้อย่างแพร่หลาย และไม่อาจงดหรือเลิกได้โดยทันที แต่อาจมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดความเหมาะสมได้ เช่น การใช้ภาชนะบรรจุหีบห่อ ที่เป็นพลาสติกทุกชนิด ได้แก่ ขวดชมพู ซองพลาสติก กล่อง ตลับพลาสติก ขวดน้ำดื่ม ซึ่งมีอายุการใช้งานสั้น แต่จะตกค้างในสภาวะแวดล้อมเป็นเวลานาน
4. ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการผลิตที่ต้องใช้พลังงานมาก และอาจนำกลับมาใช้ใหม่ได้หลายครั้ง แต่มีการทิ้งและใช้อย่างไม่คุ้มค่า การถ่ายเทสู่สภาพแวดล้อมจะไม่ย่อยสลายได้โดยง่าย และในขบวนการผลิตยังทำให้เกิดการร่อยหรอของทรัพยากรป่าไม้ในระบบนิเวศอย่างรวดเร็ว เช่น กระดาษทุกชนิด ซึ่งจะต้องลดปริมาณการใช้ และเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ทุกขั้นตอน


Reuse หรือ ใช้แล้วใช้อีก เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการบริโภคอย่างเหมาะสม เพื่อลดการร่อยหรอของทรัพยากรที่มีอยู่ และลดการปล่อยมลพิษลงสู่สภาพแวดล้อม โดยวิธีการนำทรัพยากรและผลิตภัณฑ์ต่างๆ กลับมาใช้ใหม่ลักษณะเดิม ไม่มีการแปรเปลี่ยนรูปทรง เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียพลังงานที่ต้องใช้ในกระบวนการผลิต การจัดจำหน่าย ทุกขั้นตอนก่อนถึงมือผู้บริโภค เพื่อไม่ให้กลายเป็นขยะเร็วเกินไป ผลิตภัณฑ์ที่ควรใช้ซ้ำได้แก่
1. เสื้อผ้าทุกชนิด อาจเพิ่มประโยชน์การใช้สอยได้มากขึ้น โดยการลดการทิ้งด้วยการจำหน่ายเป็นของใช้แล้ว หรือบริจาคให้ผู้ขาดแคลน หรือนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะอื่นๆ
2. ภาชนะบรรจุที่ทำด้วยแก้วบางชนิด ซึ่งขั้นตอนการผลิตต้องใช้ทรัพยากรทั้งที่เป็นวัตถุดิบ จำนวนมากและใช้พลังงานปริมาณมาก โดยสนับสนุนให้มีการนำขวดหรือภาชนะเหล่านี้กลับมาใช้อีก รวมทั้งภาชนะหีบห่ออื่นๆ เช่นลังพลาสติก ลังพลาสติก เฟอร์นิเจอร์ทุกชนิด หนังสือ และอื่นๆ


Recycle หรือหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ผลิตภัณฑ์บางชนิดแม้จะมีความคงทน แต่กลับมีอายุการใช้งานสั้น มีปริมาณการใช้มาก ทำให้หมดเปลืองทรัพยากรและพลังงานอย่างรวดเร็ว จึงควรใช้ผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้อย่างระมัดระวัง และให้เกิดประโยชน์คุ้มค่ามากที่สุด เพื่อลดปริมาณของเสียที่จะถ่ายเทลงสู่สภาพแวดล้อม และเมื่อเลิกใช้แล้ว ควรจะมีการจัดการเพื่อนำเอาทรัพยากรที่ครั้งหนึ่งถูกแปรเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ดังกล่าว หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ จึงต้องผ่านกระบวนการหลอมละลาย บด อัด  ฯลฯ ผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้มีดังนี้
1. แก้ว ได้แก่ ขวดหรือภาชนะแก้วสำหรับบรรจุเครื่องดื่มและอาหารทุกชนิดที่มีสีใส สีน้ำตาลหรือเขียว เช่น ขวดน้ำอัดลม ขวดเหล้า ขวดเบียร์ ขวดโซดา ขวดน้ำปลา ขวดซอส ขวดเครื่องดื่มบำรุงกำลัง ขวดยา
2. กระดาษ ได้แก่
- กระดาษหนังสือพิมพ์
- กล่องกระดาษ ถุงกระดาษรีไซเคิล กระดาษลัง
- กระดาษขาว-ดำ กระดาษคอมพิวเตอร์
- สมุด หนังสือ นิตยสาร

3. พลาสติก ได้แก่
- ขวดน้ำพลาสติก ขวดน้ำพลาสติกขาวขุ่น ขวดน้ำมันพืช แก้วน้ำ
- ภาชนะพลาสติกสีต่างๆ เช่นกะละมัง แกลลอน ถังน้ำ ขวดแชมพู
- ถุงพลาสติกเหนี่ยว ฝาจุกน้ำเปล่า สายยางเก่า ท่อพีวีซี
- บรรจุภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์รีไซเคิล

4. โลหะ / อโลหะ ได้แก่
- วัสดุหรือเศษเหล็กทุกชนิด เช่น น็อต ตะปู ตะแกรง ข้อต่อวาล์ว      
- กระป๋องอะลูมิเนียม เช่น กระป๋องเบียร์ กระป๋องน้ำอัดลม
- ทองแดง ทองเหลือง สแตนเลส ตะกั่ว
- สังกะสี ปี๊บ กระป๋อง



ที่มา http://www.sunset.coos-bay.k12.or.us/


การกำจัดขยะมูลฝอย          เนื่องจากขยะเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่จะต้องได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องเหมาะสม ความรุนแรงของปัญหาเกี่ยวกับขยะจะมีมาก โดยเฉพาะชุมชนหนาแน่น เช่น ชุมชนเขตเมือง ซึ่งแต่ละแห่งจำเป็นต้องเลือกใช้วิธีการกำจัดที่เหมาะสม วิธีการกำจัดขยะที่ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบันนี้มีหลายวิธี แต่ละวิธีก็มีความเหมาะสมที่แตกต่างกันออกไป มีทั้งแบบขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ซึ่งวิธีการกำจัดขยะที่ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบันพอจะสรุปเป็นวิธีต่างๆ ได้ดังนี้ คือ

การนำขยะไปหมักทำปุ๋ย ( Composting method)          เป็นวิธีการอาศัยกระบวนการทางชีววิทยา ภายใต้สภาวะที่มีอุณหภูมิสูง ซึ่งเป็นผลมาจาก
ความร้อนที่เกิดจากการย่อยสลาย โดยเปลี่ยนเป็นผลิตผลที่มีเสถียรภาพ ได้แก่ ปุ๋ย ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงดิน โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาวะแวดล้อม
 ข้อดี    ของการกำจัดขยะมูลฝอยแบบหมักทำปุ๋ย
- ได้ปุ๋ย ไปใช้
- ตั้งโรงงานกำจัดในเขตชุมชนได้ ถ้าหากมีมาตรการป้องกันความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และเหตุรำคาญ ประหยัดค่าขนส่ง
- การแยกขยะมูลฝอย ก่อนหมักทำปุ๋ย จะได้เศษโลหะแก้ว กลับไปทำประโยชน์ได้
ข้อเสีย
- ถ้าดำเนินการไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการจะเกิดปัญหากลิ่นเหม็น เนื่องจากการย่อยสลายไม่สมบูรณ์
- สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการแยกขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายไม่ได้ เพื่อนำไปกำจัดโดยวิธีอื่น

การทำปุ๋ยหมัก
ที่มา http://www.mdu44.com/mdu/image/piya-december52/piya-december33.jpg
 การนำขยะไปเทกองกลางแจ้ง หรือการนำขยะไปทิ้งไว้ตามธรรมชาติ (Open Dump)
 การจัดการกับขยะวิธีนี้เป็นวิธีเก่าแก่ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมานานแล้ว เป็นวิธีที่นำขยะไปกองทิ้งไว้ในที่ดินกว้าง ๆ เฉย ๆ แล้วปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาติเป็นการกำจัดขยะที่ง่ายและลงทุนน้อย แต่ในปัจจุบันที่ดินแพงมาก ที่สาธารณะหรือที่รกร้างว่างเปล่าก็เกือบไม่หลงเหลืออยู่เลย วิธีนี้ต้องใช้พื้นที่มากด้วยและชุมชนเมืองยิ่งขยายตัวมากขึ้น การนำขยะไปกองทิ้งไว้ในพื้นที่กว้างขวางเช่นนี้จึงไม่เหมาะสม เศษวัสดุบางอย่างในกองขยะใช้เวลานานกว่าจะย่อยสลาย
ข้อดี ใช้ได้ผลดีต่อเมื่อชุมชนมีผู้ผลิตขยะน้อยเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว ขยะต้องเป็นวัตถุที่เน่าเปื่อยไปตามธรรมชาติได้ง่าย เช่น ใบตอง เศษอาหาร เชือกกล้วย และส่วนใหญ่ในเมืองไทยยังใช้วิธีกำจัดขยะด้วยวิธีนี้แทบทุกแห่ง
ข้อเสีย
- ทำให้เกิดปัญหาทางด้านกลิ่นรบกวนผู้ที่อยู่ใกล้เคียง
- เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค
- ก่อเกิดปัญหามลพิษทางน้ำ ดิน อากาศ และทัศนียภาพ
- ใช้พื้นที่มาก


กองขยะ
ที่มา http://new.goosiam.com/news2/admin/my_documents/my_pictures/%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2_%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99.jpg
 การเผาด้วยความร้อนสูง หรือการกำจัดโดยใช้เตาเผา (Incineration)          วิธีการเผา ขยะที่นำมาเผาต้องผ่านการคัดเลือก คือ ต้องเป็นขยะที่ติดไฟได้ และนอกจากนี้เศษวัสดุบางอย่างเมื่อถูกความร้อนก็ยังปล่อยก๊าซที่เป็นพิษออกมาเช่น พวกโฟม พลาสติกบางประเภท ซึ่งขยะพวกนี้ต้องแยกออกต่างหาก นอกจากนี้ขยะในเมืองไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นขยะเปียก การเผาขยะประเภทนี้ต้องใช้พลังงานช่วย ทำใหเมีค่าใช้จ่ายสูง

การฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล (Sanitary landfill) 
          การกำจัดขยะมูลฝอยด้วยวิธีฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล หมายถึง การนำขยะมูลฝอยไปฝังหรือถม และการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์แบบไร้ออกซิเจน ซึ่งมีข้อเสียคือหาสถานที่ได้ยากเนื่องจากชุมชนไม่ต้องการให้อยู่ใกล้ และเกิดก๊าซมีเทนที่เกิดจากการย่อยสลายของขยะมูลฝอย และน้ำชะขยะมูลฝอยอาจทำให้เกิดอันตรายได้


การนำขยะสดไปเลี้ยงสัตว์ (Hog Feeding)
         ขยะสดในที่นี้ หมายถึง เศษอาหารที่ได้รวบรวมมาจากห้องครัว ร้านอาหาร ภัตตาคาร เศษอาหารเหล่านี้สามารถใช้เลี้ยงสัตว์ซึ่งควรนำมาต้มด้วยความร้อนไม่น้อยกว่า 100 องศา นานประมาณ 30 นาที เป็นอย่างน้อยเพื่อทำลายเชื้อโรคและพยาธิเสียก่อน
เคล็ดลับการจัดการขยะมูลฝอย
ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนได้เช่นกัน ด้วยวิธีการง่ายๆ ดังนี้

         1. ปัญหาอย่างหนึ่งในการแยกขยะ ก็คือไม่สามารถแยกระหว่างของที่ต้องใช้กับของที่ต้องทิ้ง
คำแนะนำก็คือ หาถุงขยะใบใหญ่ที่สุดเท่าที่หาได้ ให้ถุงที่ 1 ใส่ขยะที่เราแน่ใจแล้วว่าเป็นขยะ ถุงที่ 2 ใส่ขยะที่ยังไม่แน่ใจว่าเป็นขยะ ถุงแรกนำไปแยกหาขยะรีไซเคิลและขยะต้องทิ้งทันที ส่วนถุงที่ 2 นั้นให้เวลาผ่านไป 1-2 เดือน แล้วกลับมาดูอีกครั้ง เพื่อความมั่นใจว่าของในถุงนี้เป็นขยะทั้งถุงหรือไม่
          2. หลายคนสงสัยว่า ฝากระป๋องน้ำอัดลมที่ใช้ทำขาเทียมนั้นต่างจากตัวกระป๋องอย่างไร  ฝากระป๋องน้ำอัดลมนั้นใช้วัสดุเดียวกันกับตัวกระป๋อง  แต่ที่ต้องใช้ฝากระป๋องทำขาเทียมนั้น  เพราะเป็นส่วนเดียวของกระป๋องที่ไม่มีการพ่นสีและคัดแยกออกง่ายที่สุด  ทำให้นำไปหลอมทำแขนขาเทียมได้ทันที      ในขณะที่ตัวกระป๋องนั้นต้องผ่านหลายกระบวนการเพื่อแยกสีออกจากเนื้อโลหะที่ต้องใช้ต้นทุนที่สูงมาก  ฝากระป๋องหนัก 1 กิโลกรัม  จะขายรีไซเคิลได้ราคาประมาณ  300-500 บาท  แต่กว่าจะได้ต้องสะสมฝามากกว่า 3,000 ชิ้น   คำแนะนำของเราก็คือ  เมื่อสะสมได้แล้ว  ถ่ายภาพเก็บไว้เป็นความภูมิใจและนำเงินที่ขายได้บริจาคให้กับคนพิการที่ไม่มีแขนขาเทียมเป็นกุศลผลบุญ



ที่มา  http://www.arayanewspaper.com/image/mypic_news/pig6.jpg


วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ป่าชายเลน

          ป่าชายเลน หรือป่าโกงกาง (Mangrove forest หรือ Intertidal forest) คือกลุ่มของสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุด และน้ำขึ้นสูงสุดบริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ หรืออ่าว ป่าชายเลนเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ทั้งพืชและสัตว์ ป่าชายเลนจึงให้ประโยชน์แก่มนุษย์มากมาย ทั้งในด้านพลังงานและไม้ใช้สอย ตลอดจนเป็นแหล่งผลิตอาหารโปรตีนที่สำคัญ เนื่องจากป่าชายเลนเป็นที่วางไข่ แหล่งอาหาร และเจริญเติบโตของสัตว์น้ำเศรษฐกิจนานาชนิด


ป่าชายเลน
ที่มา http://www.thaiwoodcentral.com/blog/wp-content/uploads/2008/06/mangroves1.jpg
      
          นอกจากนี้ ป่าชายเลนยังช่วยป้องกันภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะเป็นเกราะกำบังและลดความรุนแรง ของคลื่นลมชายฝั่ง ช่วยดักตะกอนสิ่งปฏิกูล และสารพิษต่างๆ มิให้ไหลลงไปสะสมในบริเวณชายฝั่งและในทะเล ในปัจจุบันมีปัญหาหลายประการ ได้แก่ การเพาะเลี้ยงชายฝั่ง แหล่งชุมชน แหล่งอุตสาหกรรม การเกษตรกรรม และกิจกรรมอื่นอีกหลายประเภทได้ขยายไปสู่ชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าชายเลน จนทำให้ป่าชายเลนลดลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนน่าเป็นห่วง
          ป่าชายเลนเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งในด้านการป่าไม้ การประมง และสิ่งแวดล้อม เช่น
          ในด้านป่าไม้ ไม้จากป่าชายเลนโดยเฉพาะไม้โกงกางนำมาทำฟืน เผาถ่าน ให้ถ่านที่มีคุณภาพดี ไม้ป่าชายเลนอีกหลายชนิดนำไปทำสิ่งก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ และกลั่น เอกสารเคมีที่เป็นประโยชน์ เช่น แทนนิน แอลกอฮอล์ กรดน้ำส้ม และน้ำมันดิน
          ในด้านการประมงป่าชายเลนเป็นแหล่งขยายพันธุ์ และที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด เช่น กุ้ง อันได้แก่ กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย โดยมีคนศึกษาพบว่าบริเวณป่าชายเลนประเทศไทย มีกุ้งชนิดต่างๆ ประมาณ 16 ชนิด สัตว์น้ำประเภทปลา เช่น ปลากะพงขาว ปลาเก๋า ปลากระบอก และปลานวลจันทร์ทะเล สัตว์น้ำประเภทหอย ได้แก่ หอยนางรม หอยแมลงภู่ หอยแครง และหอยกะพง สัตว์น้ำประเภทปู จะพบมากชนิด เช่น ปูแสม ปูทะเล และปูม้า เป็นต้น
          ในด้านสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน มีความสำคัญในด้านการอนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่งทะเลโดยเฉพาะช่วยลดภาระน้ำเสียและยังช่วยทำให้เกิดการงอกของแผ่นดินขยายออกไปสู่ทะเลอีกด้วย


ป่าชายเลน
ที่มา http://www.thaidphoto.com/

ห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศป่าชายเลน

          ระบบนิเวศวิทยาที่เกิดขึ้นในป่าชายเลนนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ที่มีต่อกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม พืชพรรณธรรมชาติชนิดต่าง ๆ เมื่อได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงจะทำให้เกิดอินทรียวัตถุและการเจริญเติบโต กลายเป็นผู้ผลิต (producers) ของระบบส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ นอกเหนือจากมนุษย์นำไปใช้ประโยชน์จะร่วงหล่นทับถมในน้ำและในดิน ในที่สุดก็จะกลายเป็นแร่ธาตุของพวกจุลชีวัน เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา แพลงก์ตอน ตลอดจนสัตว์เล็ก ๆ หน้าดินที่เรียกกลุ่มนี้ว่า ผู้บริโภคของระบบ (detritus consumers) พวกจุลชีวันเหล่านี้จะเจริญเติบโตกลายเป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำเล็ก ๆ อื่น ๆ และสัตว์เล็ก ๆ เหล่านี้ จะเจริญเติบโตเป็นอาหารของพวกกุ้ง ปู และปลาขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับของอาหาร (tropic levels) นอกจากนี้ ใบไม้ที่ตกหล่นโคนต้นอาจเป็นอาหารโดยตรงของสัตว์น้ำ (litter feeding) ก็ได้ ซึ่งทั้งหมดจะเกิดเป็นห่วงโซ่อาหารขึ้น ในระบบนิเวศป่าชายเลน และโดยธรรมชาติแล้วจะมีความสมดุลในตัวของมันเอง แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งก็จะเป็นผลทำให้ระบบความสัมพันธ์นี้ถูกทำลายลง จนเกิดเป็นผลเสียขึ้นได้ เช่น ถ้าหากพื้นที่ป่าชายเลนถูกบุกรุกทำลาย จำนวนสัตว์น้ำก็จะลดลงตามไปด้วยตลอดจนอาจเกิดการเน่าเสียของน้ำ


ห่วงโซ่อาหารป่าชายเลน
ที่มา http://ebook.nfe.go.th/
ประเภทของป่าชายเลน
 ป่าชายเลนสามารถแบ่งได้ 4 ชนิด 





          1.Basin forest เป็นป่าชายเลนที่มี พบติดกับแผ่นดินใหญ่ตามลำน้ำและได้อิทธิพลจากน้ำทะเลน้อยมากน้ำทะเลจะท่วมถึงเฉพาะเวลาที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุด
 

Basin forest
ที่มา http://statics.atcloud.com/
          
          2.Riren forest เป็นป่าชายเลนที่พบบริเวณชายฝั่งแม่น้ำใหญ่ที่ติดกับทะเล ทะเลสาบ มีน้ำทะเลท่วมถึงทุกวัน


Riren forest
ที่มา http://www.siamfishing.com/
           3.Fringe forest เป็นป่าชายเลนที่พบบริเวณชายฝั่งทะเลที่ติดกับแผ่นดินหรือรอบเกาะที่เป็นเกาะใหญ่ น้ำทะเลท่วมถึงเสมอเป็นประจำทุกวัน ยกเว้น ชายฝั่งทะเลของเกาะใหญ่น้ำทะเลท่วมถึงเมื่อน้ำทะเลขึ้นสูงสุด


Fringe forest
ที่มา http://www.traveleastthailand.org/imgtour/0016.jpg
           4.Overwash forest เป็นป่าชายเลนที่พบตามเกาะเล็กๆ เมื่อน้ำทะเลขึ้นสูงสุดจะท่วมต้นไม้หมด พรรณไม้ที่จะเตี้ยกว่าปกติ มีอัตราการเติบโตต่ำ

Overwash forest
ที่มา http://www.nhmi.org/mangroves/pic/w35.jpg
 ป่าชายเลนในประเทศไทย
            
             ประเทศไทยมี 22 จังหวัด ที่มีพื้นที่ป่าชายเลนตามชายฝั่งทะเลแม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบและเกาะต่างๆ ตั้งแต่ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกตลอดไปจนถึงภาคใต้ทั้งสองฝั่ง โดยมีพื้นที่รวม 1,047,390 ไร่ พื้นที่ป่าชายเลนลดลงเนื่องจากการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อการเพาะเลี้ยงกุ้งรวมทั้งการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อกิจกรรมอื่น เช่น การทำเหมืองแร่ การทำนาเกลือ การทำเกษตรกรรม การขยายชุมชนการสร้างท่าเทียบเรือ การสร้างถนนและสายส่งไฟฟ้า การสร้างโรงงานอุตสาหกรรมและการขุดลอกร่องน้ำ

ที่มา  http://www.technicchan.ac.th/~web/UserFiles/Image/SV300027.JPG

ประโยชน์ของป่าชายเลน

  • เป็นแหล่งพลังงานและอาหาร
  • เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ตามธรรมชาติ
  • เป็นเครื่องป้องกันแนวชายฝั่งทะเล
  • ควบคุมการกัดเซาะพังทลาย
  • เพื่อซับน้ำเสีย
  • เป็นแนวกำบังกระแสน้ำเชี่ยวที่ปากแม่น้ำและพายุหมุน
  • เป็นแหล่งวัตถุดิบผลิตภัณฑ์จากไม้
  • เป็นแหล่งเชื้อเพลิง
  • เป็นแหล่งวัสดุก่อสร้าง
  • เป็นแหล่งวัตถุดิบสิ่งทอและหนังสัตว์
  • เป็นแหล่งอาหาร ยา และเครื่องดื่ม
  • การผลิตกรดจากเปลือกไม้ (tannin)
  • การทำเหมือนแร่ดีบุกในบริเวณป่าชายเลน
  • ให้ผลผลิตน้ำเย็นในระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรม
  • ให้ผลผลิตเกลือ
  • ให้ผลผลิตมวลชีวภาพ (biomass) แก่แหล่งประมง
           (ก) แหล่งประมงใกล้ชายฝั่ง
           (ข) เป็นแหล่งพักอาศัยของลูกปลาและลูกกุ้ง
    
  • ให้ผลผลิตมวลชีวภาพสำหรับการเลี้ยงหอยแมลงภู่และปลา






ที่มา http://www.healthcorners.com/2007/article/img5/5_1302303593.jpg

พันธุ์ไม้ป่าชายเลนในประเทศไทย 

          1. โกงกางใบใหญ่
          2. โกงกางใบเล็ก
          3. ถั่วดำ
          4. ถั่วขาว
          5. พังกาหัวสุมดอกแดง
          6. โปรงขาว
          7. โปรงแดง
          8. ตะบูนดำ
          9. ตะบูนขาว
          10. แสมขาว
          11. แสมทะเล
          12. ลำพู
          13. ลำพูทะเล
          14. ตาตุ่มทะเล
          15. เหงือกปลาหมอ


โกงกาง
ที่มา  http://kanchanapisek.or.th/kp8/trd/trd70901.gif

เหงือกปลาหมอ
ที่มา http://biogang.net/upload_img/biodiversity/biodiversity-90774-1.jpg
ที่มา ทะเลไทยดอทคอม
         วิกิพีเดีย
         คลังปัญญาไทย