วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ขยะมูลฝอย

ขยะมูลฝอย

ความหมายของขยะมูลฝอย
          ขยะ หรือ ขยะมูลฝอย มีความหมายเหมือนกันคือ เศษสิ่งของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตและการใช้สอยของมนุษย์ อาจมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามแหล่งที่ก่อให้เกิดขยะเหล่านั้นๆ



ขยะมีกี่ประเภท
     สามารถแบ่งประเภทขยะตามลักษณะของส่วนประกอบของขยะมูลฝอย ที่มีประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. กระดาษ ถุงกระดาษ กล่อง ลัง เศษกระดาษจากสำนักงาน2. พลาสติก มีความทนทานต่อการทำลายได้สูง วัสดุ หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก เช่น ถุงภาชนะ ของเด็กเล่น ของใช้
3. แก้ว วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแก้ว เช่น ขวด หลอดไฟ เศษกระจก ฯลฯ
4. เศษอาหาร ผัก ผลไม้ ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์ ย่อยสลายได้ง่าย เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้ขยะเกิดกลิ่นเหม็น ส่งกลิ่นรบกวนหากไม่มีการเก็บขนออกจากแหล่งทิ้งทุกวัน
5. ผ้าสิ่งทอต่าง ๆ ที่ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติ และใยสังเคราะห์ เช่น ผ้าไนล่อน ขนสัตว์ ลินิน ฝ้าย
6. ยางและหนัง เช่น รองเท้า กระเป๋า ลูกบอล
7. ไม้ เศษเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ
8. หิน กระเบื้อง กระดูก และเปลือกหอย พวกนี้ไม่เน่าเปื่อย พบมากในแหล่งก่อสร้างตึกที่ทุบทิ้ง
9. โลหะต่าง ๆ เช่น กระป๋อง ลวด สายไฟ ตะปู
10. อื่น ๆ ที่ไม่อาจจัดกลุ่มได้



ที่มา http://blog.lib.umn.edu/stau0156/architecture/garbage%20can.jpg

ขยะมาจากไหน
       ขยะมูลฝอยเกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ทั้งจากการกระบวนการผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม และการใช้สอยในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันออกๆไป ตามแหล่งกำเนิด

ขยะจากอาคาร บ้านเรือน  ที่พักอาศัย ขยะประเภทนี้จัดอยู่ในขยะทั่วไป ขยะพวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเศษอาหาร เศษกระดาษ เศษแก้ว เศษโลหะ เศษไม้ และพลาสติก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีขยะที่เป็นอันตรายอีก เช่น ซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่เก่า ซากถ่านไฟฉาย กระป๋องสารเคมีที่ใช้ภายในบ้าน เป็นต้น

ขยะจากกิจกรรมภาคอุตสาหกรรม จะมีทั้งขยะที่เป็นอันตราย เช่น กากสารเคมีมีพิษและสารประกอบที่มีโลหะหนักต่างๆ และมูลฝอยที่ไม่เป็นอันตรายซึ่งได้มาจากส่วนสำนักงาน และโรงอาหารของโรงงาน เป็นต้น

ขยะที่เกิดจากกิจกรรมภาคเกษตรกรรม ได้แก่ เศษภาชนะที่ใช้บรรจุสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เศษซากพืช ซากสัตว์ มูลสัตว์ เป็นต้น ขยะเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการเก็บรวบรวมบำบัด หรือกำจัดอย่างถูกต้อง และเป็นระบบครบวงจร เพื่อจะได้ไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมต่อไป
         นอกจากนี้ ยังมีแหล่งขยะที่นอกเหนือจากที่กล่าวไปแล้วข้างต้นอีก ซึ่งเป็นแหล่งที่มีความสำคัญมากเช่นกันหากไม่ได้รับการจัดการที่ดีจะทำให้เกิดปัญหาและเป็นอันตรายได้ นั่นคือ ขยะจากโรงพยาบาลและสถานที่ศึกษาวิจัย ขยะจากสถานประกอบการในเมือง


ที่มา http://www.adeq.or.th/UserFiles/garb01.jpg
 ปัญหาขยะมูลฝอย

สถานการณ์ขยะมูลฝอย          ในปี พ.ศ. 2548 มีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ 14.3 ล้านตัน หรือ 39,221 ตันต่อวัน (ยังไม่รวมข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยก่อนนำมาทิ้งในถัง) ซึ่งลดลงจากปี 2547 ประมาณ 0.3 ล้านตัน เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครมีปริมาณขยะมูลฝอยที่เก็บขนได้วันละ 8,291 ตัน ในขณะที่ปริมาณขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลและเมืองพัทยาเกิดขึ้นประมาณวันละ 12,635 ตัน และนอกเขตเทศบาลซึ่งครอบคลุมพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล ทั้งหมดเกิดขึ้นประมาณวันละ 18,295 ตัน
สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอย

1. ขาดจิตสำนึกและมีความมักง่ายในการทิ้งขยะโดยไม่ได้คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น
2. การผลิตหรือใช้สิ่งของมากเกินความจำเป็น เช่น การผลิตสินค้าที่มีกระดาษหรือพลาสติกห่อหุ้มหลายชั้น การซื้อสินค้าโดยห่อแยกหรือใส่ถุงพลาสติกหลายถุง
3. การเก็บและทำลายหรือนำขยะไปใช้ประโยชน์อย่างไม่มีประสิทธิภาพ จึงทำให้มีขยะตกค้าง



อินโดนีเซีย" แม่น้ำทั้งสายเต็มไปด้วยขยะมูลฝอยทุกประเภท
ที่มา http://farm4.static.flickr.com/3553/3525212037_16a17e82ea_o.jpg

ผลกระทบจากปัญหาขยะมูลฝอย1. ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะ (Pollution) ได้แก่ มลภาวะทางน้ำ มลภาวะทางอากาศ และมลภาวะทางดิน
2. ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งสุขภาพทางกาย และสุขภาพทางใจ
3. ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การจัดการขยะทำให้เกิดค่าใช้จ่าย ตั้งแต่การเก็บรวบรวม การเก็บขน การแปรสภาพ การกำจัดหรือการทำลาย นอกจากนั้นยังต้องจัดหาซื้อที่ดินเพื่อการฝังกลบและการติดตั้งเครื่องเผาขยะซึ่งมีราคาแพง ยิ่งมีขยะมากก็ยิ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ทางเศรษฐกิจมาก  
4. ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น มีผลต่ออุณหภูมิของโลกที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการกำจัดขยะโดยการฝังกลบ จะเกิดการหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจนทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทน อีกทั้งขยะติดเชื้อและขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ จำเป็นต้องกำจัดด้วยการเผาทำลาย ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นและก่อให้เกิดก๊าซต่างๆ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ซึ่งก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน


ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=224641
 การแก้ปัญหา
นโยบายการจัดการขยะในประเทศไทย
1. ควบคุมปริมาณและอัตราการเกิดขยะมูลฝอยของประชากร
2. ให้มีการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล ตั้งแต่การเก็บกัก การเก็บขน การขนส่งและการกำจัด และสนับสนุนให้จังหวัดมีศูนย์รวมกำจัดขยะจากชุมชน
3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนร่วมลงทุน ก่อสร้าง บริหารและดำเนินระบบจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรเอกชน และประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหามูลฝอยและสิ่งปฏิกูลเพิ่มขึ้น เพราะเป็นกลไกที่มีความสำคัญในการจัดการขยะ
5. ส่งเสริมให้ใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์  เช่นการเรียกเก็บค่าทำเนียมจากผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีซากของเสียอันตรายและธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ใช้บรรจุภัณฑ์ฟุ่มเฟือยหรือกำจัดยาก 
6. ใช้มาตรการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย เพื่อจูงใจให้มีการลดปริมาณขยะ และส่งเสริมการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
7. พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการจัดการขยะและส่งเสริมการผลิตที่สะอาด (Clean technology) ในภาคการผลิต
8. ส่งเสริมให้มีการสอน และฝึกอบรมในเรื่องวินัยการจัดการขยะ การคัดแยกขยะ และการกำจัดของเสียที่ถูกวิธีให้แก่ชุมชน ภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม


การจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง
        หลักง่ายๆ ในการลดปริมาณขยะก็คือ หลัก1A3R ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการจัดการกับขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางก่อนที่จะมีขยะเกิดขึ้น หรือทำอย่างไรจะให้สิ่งของที่เราใช้แล้วเกิดเป็นขยะน้อยที่สุด ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนตั้งแต่การงด-เลิก ลด ใช้ซ้ำ และหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ ดังนั้น 1A3R จึงเป็นหลักแก้ปัญหาที่ทุกคนสามารถเลือกที่จะทำข้อใดข้อหนึ่งได้เลย โดยเริ่มจาก

ที่มา http://www.npc-se.co.th/backoffice/stock_photo/A_316.jpg
 Avoid หรือ งด-เลิก เป็นการงดหรือเลิกการบริโภคที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคโดยตรง การบริโภคที่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น และต่อระบบนิเวศ โดยจะต้องงด-เลิก 
- ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้งเลย เช่น
- ใบมีดโกนหนวดชนิดที่ใช้แล้วทิ้งเลย
-  ตะเกียบไม้ ช้อนพลาสติก
- โฟมสำหรับบรรจุอาหาร
- ถุงพลาสติกบรรจุอาหาร  
- ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ เช่น
- สารกำจัดแมลงทุกชนิด
- ยาฆ่าหญ้าสารเคมีผสมในผลิตภัณฑ์
- สีผสมอาหาร สารกันบูด
- เครื่องสำอาง
- น้ำยาทำความสะอาด
- ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ เช่น
- สเปรย์ทุกชนิดที่ใช้ CFC ช่วยเพิ่มแรงอัด
- น้ำยาดับเพลิง
- น้ำยาทำความสะอาดอุปกรณ์ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
- ปุ๋ยเคมี
- ยาฆ่าแมลงและปราบศัตรูพืช 
- ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์ป่า หรือชิ้นส่วนของสัตว์ทุกชนิด เช่น
- กำไร ต่างหู หมวก กระเป๋า ที่ทำจากชิ้นส่วนของสัตว์ป่าทุกชนิด
- เครื่องประดับบ้าน ปะการัง
- เครื่องราง
- กิจกรรมที่ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตมนุษย์และสภาพแวดล้อม เช่น
- การถ่ายเทของเสียลงสู่ที่รองรับตามธรรมชาติได้แก่ แหล่งน้ำ อากาศ ดิน ซึ่งจะสามารถบำบัดและกำจัดได้ยาก


Reduce หรือ ลด
หากไม่สามารถเลิกการใช้หรือการบริโภคของบางอย่างได้เสียทีเดียว ก็พยายามลดใช้ให้น้อยลง ลดการบริโภคที่จะให้เกิดการร่อยหรอของทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป  รวมทั้งทรัพยากรที่ทดแทนใหม่ได้บางชนิดก็ต้องลดการใช้ เนื่องจากทำให้เกิดการเสียสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งจะต้องหาทางลดปริมาณการบริโภค และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรเหล่านี้
1. ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป เช่น
- พลังงาน จากปิโตเลียมและถ่านหิน
- แร่ธาตุโลหะทุกชนิด
2. ทรัพยากรที่ทดแทนใหม่ได้ ซึ่งปัจจุบันมีการนำออกมาใช้อย่างรวดเร็ว และมากเกินกว่าที่ธรรมชาติจะทดแทนใหม่ได้ทัน จึงควรลดการใช้ลงเช่น ไม้ พืชพันธ์ สัตว์ ชิ้นส่วนของสัตว์ทุกชนิด
3. ผลิตภัณฑ์ที่เมื่อนำมาใช้ จะทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศ  ยากต่อการทำลาย มีการใช้อย่างแพร่หลาย และไม่อาจงดหรือเลิกได้โดยทันที แต่อาจมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดความเหมาะสมได้ เช่น การใช้ภาชนะบรรจุหีบห่อ ที่เป็นพลาสติกทุกชนิด ได้แก่ ขวดชมพู ซองพลาสติก กล่อง ตลับพลาสติก ขวดน้ำดื่ม ซึ่งมีอายุการใช้งานสั้น แต่จะตกค้างในสภาวะแวดล้อมเป็นเวลานาน
4. ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการผลิตที่ต้องใช้พลังงานมาก และอาจนำกลับมาใช้ใหม่ได้หลายครั้ง แต่มีการทิ้งและใช้อย่างไม่คุ้มค่า การถ่ายเทสู่สภาพแวดล้อมจะไม่ย่อยสลายได้โดยง่าย และในขบวนการผลิตยังทำให้เกิดการร่อยหรอของทรัพยากรป่าไม้ในระบบนิเวศอย่างรวดเร็ว เช่น กระดาษทุกชนิด ซึ่งจะต้องลดปริมาณการใช้ และเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ทุกขั้นตอน


Reuse หรือ ใช้แล้วใช้อีก เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการบริโภคอย่างเหมาะสม เพื่อลดการร่อยหรอของทรัพยากรที่มีอยู่ และลดการปล่อยมลพิษลงสู่สภาพแวดล้อม โดยวิธีการนำทรัพยากรและผลิตภัณฑ์ต่างๆ กลับมาใช้ใหม่ลักษณะเดิม ไม่มีการแปรเปลี่ยนรูปทรง เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียพลังงานที่ต้องใช้ในกระบวนการผลิต การจัดจำหน่าย ทุกขั้นตอนก่อนถึงมือผู้บริโภค เพื่อไม่ให้กลายเป็นขยะเร็วเกินไป ผลิตภัณฑ์ที่ควรใช้ซ้ำได้แก่
1. เสื้อผ้าทุกชนิด อาจเพิ่มประโยชน์การใช้สอยได้มากขึ้น โดยการลดการทิ้งด้วยการจำหน่ายเป็นของใช้แล้ว หรือบริจาคให้ผู้ขาดแคลน หรือนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะอื่นๆ
2. ภาชนะบรรจุที่ทำด้วยแก้วบางชนิด ซึ่งขั้นตอนการผลิตต้องใช้ทรัพยากรทั้งที่เป็นวัตถุดิบ จำนวนมากและใช้พลังงานปริมาณมาก โดยสนับสนุนให้มีการนำขวดหรือภาชนะเหล่านี้กลับมาใช้อีก รวมทั้งภาชนะหีบห่ออื่นๆ เช่นลังพลาสติก ลังพลาสติก เฟอร์นิเจอร์ทุกชนิด หนังสือ และอื่นๆ


Recycle หรือหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ผลิตภัณฑ์บางชนิดแม้จะมีความคงทน แต่กลับมีอายุการใช้งานสั้น มีปริมาณการใช้มาก ทำให้หมดเปลืองทรัพยากรและพลังงานอย่างรวดเร็ว จึงควรใช้ผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้อย่างระมัดระวัง และให้เกิดประโยชน์คุ้มค่ามากที่สุด เพื่อลดปริมาณของเสียที่จะถ่ายเทลงสู่สภาพแวดล้อม และเมื่อเลิกใช้แล้ว ควรจะมีการจัดการเพื่อนำเอาทรัพยากรที่ครั้งหนึ่งถูกแปรเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ดังกล่าว หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ จึงต้องผ่านกระบวนการหลอมละลาย บด อัด  ฯลฯ ผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้มีดังนี้
1. แก้ว ได้แก่ ขวดหรือภาชนะแก้วสำหรับบรรจุเครื่องดื่มและอาหารทุกชนิดที่มีสีใส สีน้ำตาลหรือเขียว เช่น ขวดน้ำอัดลม ขวดเหล้า ขวดเบียร์ ขวดโซดา ขวดน้ำปลา ขวดซอส ขวดเครื่องดื่มบำรุงกำลัง ขวดยา
2. กระดาษ ได้แก่
- กระดาษหนังสือพิมพ์
- กล่องกระดาษ ถุงกระดาษรีไซเคิล กระดาษลัง
- กระดาษขาว-ดำ กระดาษคอมพิวเตอร์
- สมุด หนังสือ นิตยสาร

3. พลาสติก ได้แก่
- ขวดน้ำพลาสติก ขวดน้ำพลาสติกขาวขุ่น ขวดน้ำมันพืช แก้วน้ำ
- ภาชนะพลาสติกสีต่างๆ เช่นกะละมัง แกลลอน ถังน้ำ ขวดแชมพู
- ถุงพลาสติกเหนี่ยว ฝาจุกน้ำเปล่า สายยางเก่า ท่อพีวีซี
- บรรจุภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์รีไซเคิล

4. โลหะ / อโลหะ ได้แก่
- วัสดุหรือเศษเหล็กทุกชนิด เช่น น็อต ตะปู ตะแกรง ข้อต่อวาล์ว      
- กระป๋องอะลูมิเนียม เช่น กระป๋องเบียร์ กระป๋องน้ำอัดลม
- ทองแดง ทองเหลือง สแตนเลส ตะกั่ว
- สังกะสี ปี๊บ กระป๋อง



ที่มา http://www.sunset.coos-bay.k12.or.us/


การกำจัดขยะมูลฝอย          เนื่องจากขยะเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่จะต้องได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องเหมาะสม ความรุนแรงของปัญหาเกี่ยวกับขยะจะมีมาก โดยเฉพาะชุมชนหนาแน่น เช่น ชุมชนเขตเมือง ซึ่งแต่ละแห่งจำเป็นต้องเลือกใช้วิธีการกำจัดที่เหมาะสม วิธีการกำจัดขยะที่ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบันนี้มีหลายวิธี แต่ละวิธีก็มีความเหมาะสมที่แตกต่างกันออกไป มีทั้งแบบขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ซึ่งวิธีการกำจัดขยะที่ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบันพอจะสรุปเป็นวิธีต่างๆ ได้ดังนี้ คือ

การนำขยะไปหมักทำปุ๋ย ( Composting method)          เป็นวิธีการอาศัยกระบวนการทางชีววิทยา ภายใต้สภาวะที่มีอุณหภูมิสูง ซึ่งเป็นผลมาจาก
ความร้อนที่เกิดจากการย่อยสลาย โดยเปลี่ยนเป็นผลิตผลที่มีเสถียรภาพ ได้แก่ ปุ๋ย ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงดิน โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาวะแวดล้อม
 ข้อดี    ของการกำจัดขยะมูลฝอยแบบหมักทำปุ๋ย
- ได้ปุ๋ย ไปใช้
- ตั้งโรงงานกำจัดในเขตชุมชนได้ ถ้าหากมีมาตรการป้องกันความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และเหตุรำคาญ ประหยัดค่าขนส่ง
- การแยกขยะมูลฝอย ก่อนหมักทำปุ๋ย จะได้เศษโลหะแก้ว กลับไปทำประโยชน์ได้
ข้อเสีย
- ถ้าดำเนินการไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการจะเกิดปัญหากลิ่นเหม็น เนื่องจากการย่อยสลายไม่สมบูรณ์
- สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการแยกขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายไม่ได้ เพื่อนำไปกำจัดโดยวิธีอื่น

การทำปุ๋ยหมัก
ที่มา http://www.mdu44.com/mdu/image/piya-december52/piya-december33.jpg
 การนำขยะไปเทกองกลางแจ้ง หรือการนำขยะไปทิ้งไว้ตามธรรมชาติ (Open Dump)
 การจัดการกับขยะวิธีนี้เป็นวิธีเก่าแก่ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมานานแล้ว เป็นวิธีที่นำขยะไปกองทิ้งไว้ในที่ดินกว้าง ๆ เฉย ๆ แล้วปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาติเป็นการกำจัดขยะที่ง่ายและลงทุนน้อย แต่ในปัจจุบันที่ดินแพงมาก ที่สาธารณะหรือที่รกร้างว่างเปล่าก็เกือบไม่หลงเหลืออยู่เลย วิธีนี้ต้องใช้พื้นที่มากด้วยและชุมชนเมืองยิ่งขยายตัวมากขึ้น การนำขยะไปกองทิ้งไว้ในพื้นที่กว้างขวางเช่นนี้จึงไม่เหมาะสม เศษวัสดุบางอย่างในกองขยะใช้เวลานานกว่าจะย่อยสลาย
ข้อดี ใช้ได้ผลดีต่อเมื่อชุมชนมีผู้ผลิตขยะน้อยเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว ขยะต้องเป็นวัตถุที่เน่าเปื่อยไปตามธรรมชาติได้ง่าย เช่น ใบตอง เศษอาหาร เชือกกล้วย และส่วนใหญ่ในเมืองไทยยังใช้วิธีกำจัดขยะด้วยวิธีนี้แทบทุกแห่ง
ข้อเสีย
- ทำให้เกิดปัญหาทางด้านกลิ่นรบกวนผู้ที่อยู่ใกล้เคียง
- เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค
- ก่อเกิดปัญหามลพิษทางน้ำ ดิน อากาศ และทัศนียภาพ
- ใช้พื้นที่มาก


กองขยะ
ที่มา http://new.goosiam.com/news2/admin/my_documents/my_pictures/%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2_%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99.jpg
 การเผาด้วยความร้อนสูง หรือการกำจัดโดยใช้เตาเผา (Incineration)          วิธีการเผา ขยะที่นำมาเผาต้องผ่านการคัดเลือก คือ ต้องเป็นขยะที่ติดไฟได้ และนอกจากนี้เศษวัสดุบางอย่างเมื่อถูกความร้อนก็ยังปล่อยก๊าซที่เป็นพิษออกมาเช่น พวกโฟม พลาสติกบางประเภท ซึ่งขยะพวกนี้ต้องแยกออกต่างหาก นอกจากนี้ขยะในเมืองไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นขยะเปียก การเผาขยะประเภทนี้ต้องใช้พลังงานช่วย ทำใหเมีค่าใช้จ่ายสูง

การฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล (Sanitary landfill) 
          การกำจัดขยะมูลฝอยด้วยวิธีฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล หมายถึง การนำขยะมูลฝอยไปฝังหรือถม และการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์แบบไร้ออกซิเจน ซึ่งมีข้อเสียคือหาสถานที่ได้ยากเนื่องจากชุมชนไม่ต้องการให้อยู่ใกล้ และเกิดก๊าซมีเทนที่เกิดจากการย่อยสลายของขยะมูลฝอย และน้ำชะขยะมูลฝอยอาจทำให้เกิดอันตรายได้


การนำขยะสดไปเลี้ยงสัตว์ (Hog Feeding)
         ขยะสดในที่นี้ หมายถึง เศษอาหารที่ได้รวบรวมมาจากห้องครัว ร้านอาหาร ภัตตาคาร เศษอาหารเหล่านี้สามารถใช้เลี้ยงสัตว์ซึ่งควรนำมาต้มด้วยความร้อนไม่น้อยกว่า 100 องศา นานประมาณ 30 นาที เป็นอย่างน้อยเพื่อทำลายเชื้อโรคและพยาธิเสียก่อน
เคล็ดลับการจัดการขยะมูลฝอย
ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนได้เช่นกัน ด้วยวิธีการง่ายๆ ดังนี้

         1. ปัญหาอย่างหนึ่งในการแยกขยะ ก็คือไม่สามารถแยกระหว่างของที่ต้องใช้กับของที่ต้องทิ้ง
คำแนะนำก็คือ หาถุงขยะใบใหญ่ที่สุดเท่าที่หาได้ ให้ถุงที่ 1 ใส่ขยะที่เราแน่ใจแล้วว่าเป็นขยะ ถุงที่ 2 ใส่ขยะที่ยังไม่แน่ใจว่าเป็นขยะ ถุงแรกนำไปแยกหาขยะรีไซเคิลและขยะต้องทิ้งทันที ส่วนถุงที่ 2 นั้นให้เวลาผ่านไป 1-2 เดือน แล้วกลับมาดูอีกครั้ง เพื่อความมั่นใจว่าของในถุงนี้เป็นขยะทั้งถุงหรือไม่
          2. หลายคนสงสัยว่า ฝากระป๋องน้ำอัดลมที่ใช้ทำขาเทียมนั้นต่างจากตัวกระป๋องอย่างไร  ฝากระป๋องน้ำอัดลมนั้นใช้วัสดุเดียวกันกับตัวกระป๋อง  แต่ที่ต้องใช้ฝากระป๋องทำขาเทียมนั้น  เพราะเป็นส่วนเดียวของกระป๋องที่ไม่มีการพ่นสีและคัดแยกออกง่ายที่สุด  ทำให้นำไปหลอมทำแขนขาเทียมได้ทันที      ในขณะที่ตัวกระป๋องนั้นต้องผ่านหลายกระบวนการเพื่อแยกสีออกจากเนื้อโลหะที่ต้องใช้ต้นทุนที่สูงมาก  ฝากระป๋องหนัก 1 กิโลกรัม  จะขายรีไซเคิลได้ราคาประมาณ  300-500 บาท  แต่กว่าจะได้ต้องสะสมฝามากกว่า 3,000 ชิ้น   คำแนะนำของเราก็คือ  เมื่อสะสมได้แล้ว  ถ่ายภาพเก็บไว้เป็นความภูมิใจและนำเงินที่ขายได้บริจาคให้กับคนพิการที่ไม่มีแขนขาเทียมเป็นกุศลผลบุญ



ที่มา  http://www.arayanewspaper.com/image/mypic_news/pig6.jpg


1 ความคิดเห็น: