วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ป่าชายเลน

          ป่าชายเลน หรือป่าโกงกาง (Mangrove forest หรือ Intertidal forest) คือกลุ่มของสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุด และน้ำขึ้นสูงสุดบริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ หรืออ่าว ป่าชายเลนเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ทั้งพืชและสัตว์ ป่าชายเลนจึงให้ประโยชน์แก่มนุษย์มากมาย ทั้งในด้านพลังงานและไม้ใช้สอย ตลอดจนเป็นแหล่งผลิตอาหารโปรตีนที่สำคัญ เนื่องจากป่าชายเลนเป็นที่วางไข่ แหล่งอาหาร และเจริญเติบโตของสัตว์น้ำเศรษฐกิจนานาชนิด


ป่าชายเลน
ที่มา http://www.thaiwoodcentral.com/blog/wp-content/uploads/2008/06/mangroves1.jpg
      
          นอกจากนี้ ป่าชายเลนยังช่วยป้องกันภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะเป็นเกราะกำบังและลดความรุนแรง ของคลื่นลมชายฝั่ง ช่วยดักตะกอนสิ่งปฏิกูล และสารพิษต่างๆ มิให้ไหลลงไปสะสมในบริเวณชายฝั่งและในทะเล ในปัจจุบันมีปัญหาหลายประการ ได้แก่ การเพาะเลี้ยงชายฝั่ง แหล่งชุมชน แหล่งอุตสาหกรรม การเกษตรกรรม และกิจกรรมอื่นอีกหลายประเภทได้ขยายไปสู่ชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าชายเลน จนทำให้ป่าชายเลนลดลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนน่าเป็นห่วง
          ป่าชายเลนเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งในด้านการป่าไม้ การประมง และสิ่งแวดล้อม เช่น
          ในด้านป่าไม้ ไม้จากป่าชายเลนโดยเฉพาะไม้โกงกางนำมาทำฟืน เผาถ่าน ให้ถ่านที่มีคุณภาพดี ไม้ป่าชายเลนอีกหลายชนิดนำไปทำสิ่งก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ และกลั่น เอกสารเคมีที่เป็นประโยชน์ เช่น แทนนิน แอลกอฮอล์ กรดน้ำส้ม และน้ำมันดิน
          ในด้านการประมงป่าชายเลนเป็นแหล่งขยายพันธุ์ และที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด เช่น กุ้ง อันได้แก่ กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย โดยมีคนศึกษาพบว่าบริเวณป่าชายเลนประเทศไทย มีกุ้งชนิดต่างๆ ประมาณ 16 ชนิด สัตว์น้ำประเภทปลา เช่น ปลากะพงขาว ปลาเก๋า ปลากระบอก และปลานวลจันทร์ทะเล สัตว์น้ำประเภทหอย ได้แก่ หอยนางรม หอยแมลงภู่ หอยแครง และหอยกะพง สัตว์น้ำประเภทปู จะพบมากชนิด เช่น ปูแสม ปูทะเล และปูม้า เป็นต้น
          ในด้านสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน มีความสำคัญในด้านการอนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่งทะเลโดยเฉพาะช่วยลดภาระน้ำเสียและยังช่วยทำให้เกิดการงอกของแผ่นดินขยายออกไปสู่ทะเลอีกด้วย


ป่าชายเลน
ที่มา http://www.thaidphoto.com/

ห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศป่าชายเลน

          ระบบนิเวศวิทยาที่เกิดขึ้นในป่าชายเลนนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ที่มีต่อกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม พืชพรรณธรรมชาติชนิดต่าง ๆ เมื่อได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงจะทำให้เกิดอินทรียวัตถุและการเจริญเติบโต กลายเป็นผู้ผลิต (producers) ของระบบส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ นอกเหนือจากมนุษย์นำไปใช้ประโยชน์จะร่วงหล่นทับถมในน้ำและในดิน ในที่สุดก็จะกลายเป็นแร่ธาตุของพวกจุลชีวัน เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา แพลงก์ตอน ตลอดจนสัตว์เล็ก ๆ หน้าดินที่เรียกกลุ่มนี้ว่า ผู้บริโภคของระบบ (detritus consumers) พวกจุลชีวันเหล่านี้จะเจริญเติบโตกลายเป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำเล็ก ๆ อื่น ๆ และสัตว์เล็ก ๆ เหล่านี้ จะเจริญเติบโตเป็นอาหารของพวกกุ้ง ปู และปลาขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับของอาหาร (tropic levels) นอกจากนี้ ใบไม้ที่ตกหล่นโคนต้นอาจเป็นอาหารโดยตรงของสัตว์น้ำ (litter feeding) ก็ได้ ซึ่งทั้งหมดจะเกิดเป็นห่วงโซ่อาหารขึ้น ในระบบนิเวศป่าชายเลน และโดยธรรมชาติแล้วจะมีความสมดุลในตัวของมันเอง แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งก็จะเป็นผลทำให้ระบบความสัมพันธ์นี้ถูกทำลายลง จนเกิดเป็นผลเสียขึ้นได้ เช่น ถ้าหากพื้นที่ป่าชายเลนถูกบุกรุกทำลาย จำนวนสัตว์น้ำก็จะลดลงตามไปด้วยตลอดจนอาจเกิดการเน่าเสียของน้ำ


ห่วงโซ่อาหารป่าชายเลน
ที่มา http://ebook.nfe.go.th/
ประเภทของป่าชายเลน
 ป่าชายเลนสามารถแบ่งได้ 4 ชนิด 





          1.Basin forest เป็นป่าชายเลนที่มี พบติดกับแผ่นดินใหญ่ตามลำน้ำและได้อิทธิพลจากน้ำทะเลน้อยมากน้ำทะเลจะท่วมถึงเฉพาะเวลาที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุด
 

Basin forest
ที่มา http://statics.atcloud.com/
          
          2.Riren forest เป็นป่าชายเลนที่พบบริเวณชายฝั่งแม่น้ำใหญ่ที่ติดกับทะเล ทะเลสาบ มีน้ำทะเลท่วมถึงทุกวัน


Riren forest
ที่มา http://www.siamfishing.com/
           3.Fringe forest เป็นป่าชายเลนที่พบบริเวณชายฝั่งทะเลที่ติดกับแผ่นดินหรือรอบเกาะที่เป็นเกาะใหญ่ น้ำทะเลท่วมถึงเสมอเป็นประจำทุกวัน ยกเว้น ชายฝั่งทะเลของเกาะใหญ่น้ำทะเลท่วมถึงเมื่อน้ำทะเลขึ้นสูงสุด


Fringe forest
ที่มา http://www.traveleastthailand.org/imgtour/0016.jpg
           4.Overwash forest เป็นป่าชายเลนที่พบตามเกาะเล็กๆ เมื่อน้ำทะเลขึ้นสูงสุดจะท่วมต้นไม้หมด พรรณไม้ที่จะเตี้ยกว่าปกติ มีอัตราการเติบโตต่ำ

Overwash forest
ที่มา http://www.nhmi.org/mangroves/pic/w35.jpg
 ป่าชายเลนในประเทศไทย
            
             ประเทศไทยมี 22 จังหวัด ที่มีพื้นที่ป่าชายเลนตามชายฝั่งทะเลแม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบและเกาะต่างๆ ตั้งแต่ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกตลอดไปจนถึงภาคใต้ทั้งสองฝั่ง โดยมีพื้นที่รวม 1,047,390 ไร่ พื้นที่ป่าชายเลนลดลงเนื่องจากการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อการเพาะเลี้ยงกุ้งรวมทั้งการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อกิจกรรมอื่น เช่น การทำเหมืองแร่ การทำนาเกลือ การทำเกษตรกรรม การขยายชุมชนการสร้างท่าเทียบเรือ การสร้างถนนและสายส่งไฟฟ้า การสร้างโรงงานอุตสาหกรรมและการขุดลอกร่องน้ำ

ที่มา  http://www.technicchan.ac.th/~web/UserFiles/Image/SV300027.JPG

ประโยชน์ของป่าชายเลน

  • เป็นแหล่งพลังงานและอาหาร
  • เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ตามธรรมชาติ
  • เป็นเครื่องป้องกันแนวชายฝั่งทะเล
  • ควบคุมการกัดเซาะพังทลาย
  • เพื่อซับน้ำเสีย
  • เป็นแนวกำบังกระแสน้ำเชี่ยวที่ปากแม่น้ำและพายุหมุน
  • เป็นแหล่งวัตถุดิบผลิตภัณฑ์จากไม้
  • เป็นแหล่งเชื้อเพลิง
  • เป็นแหล่งวัสดุก่อสร้าง
  • เป็นแหล่งวัตถุดิบสิ่งทอและหนังสัตว์
  • เป็นแหล่งอาหาร ยา และเครื่องดื่ม
  • การผลิตกรดจากเปลือกไม้ (tannin)
  • การทำเหมือนแร่ดีบุกในบริเวณป่าชายเลน
  • ให้ผลผลิตน้ำเย็นในระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรม
  • ให้ผลผลิตเกลือ
  • ให้ผลผลิตมวลชีวภาพ (biomass) แก่แหล่งประมง
           (ก) แหล่งประมงใกล้ชายฝั่ง
           (ข) เป็นแหล่งพักอาศัยของลูกปลาและลูกกุ้ง
    
  • ให้ผลผลิตมวลชีวภาพสำหรับการเลี้ยงหอยแมลงภู่และปลา






ที่มา http://www.healthcorners.com/2007/article/img5/5_1302303593.jpg

พันธุ์ไม้ป่าชายเลนในประเทศไทย 

          1. โกงกางใบใหญ่
          2. โกงกางใบเล็ก
          3. ถั่วดำ
          4. ถั่วขาว
          5. พังกาหัวสุมดอกแดง
          6. โปรงขาว
          7. โปรงแดง
          8. ตะบูนดำ
          9. ตะบูนขาว
          10. แสมขาว
          11. แสมทะเล
          12. ลำพู
          13. ลำพูทะเล
          14. ตาตุ่มทะเล
          15. เหงือกปลาหมอ


โกงกาง
ที่มา  http://kanchanapisek.or.th/kp8/trd/trd70901.gif

เหงือกปลาหมอ
ที่มา http://biogang.net/upload_img/biodiversity/biodiversity-90774-1.jpg
ที่มา ทะเลไทยดอทคอม
         วิกิพีเดีย
         คลังปัญญาไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น